วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

"ไม่ยอมมือเปล่า" เคล็ดลับการค้าจีน


"ไม่ยอมมือเปล่า"

เป็นเรื่องของการรู้จัก "พลิกแพลง" เปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ หรือ วิธีการทำงาน

โดยเฉพาะเมื่อการค้าเผชิญกับเหตุการณ์ไม่คาดคิด
หรือ ผิดไปจากแผนการที่วางไว้

เราก็ต้องเรียนรู้ที่จะพลิกแพลงให้ได้
ใช้ "วิกฤติ" เป็น "โอกาส" ให้ได้

หนังสือยกตัวอย่างไว้ว่า...
เปรียบเหมือน "ชาวประมง" ออกเรือไปหาปลา
ยังไงเสียก็ไม่ควรกลับบ้านมือเปล่า

แม้จะได้หอยได้ปูเล็กๆน้อยๆ กลับบ้าน
ก็ยังดีเสียกว่าไม่ได้อะไรเลย

...
หนังสือโดย
เกรียงชัย เหรียญวิริยะกุล

...
อ๋อ ครับผม

วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กล้าที่จะเปลี่ยน "ตนเอง" วันนี้...ตอนที่ 2


"หากเราเปลี่ยนช้าจนเกินไป...
พวกเราก็จะถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง(คนอื่นๆ)"
...ลีกวนยู

...

หากการเปลี่ยนแปลงนั้น...เราควบคุมมันได้...
มันคือ "ความก้าวหน้า"..
แต่หากเราควบคุมจัดการมันไม่ได้...เราเรียกมันว่า "วิกฤติ"

แต่อย่างไรก็ตาม...
ไม่ว่าจะ "ความก้าวหน้า" หรือ "วิกฤติ"...
ล้วนมีคำว่า "การเปลี่ยนแปลง" เป็นสิ่งที่แน่นอนเสมอ

หากคุณขับรถไปบนเส้นทาง "เดิมๆ"...
จุดหมายปลายทางที่คุณจะไปถึง...
แน่นอนว่า..เป็นสถานที่เดิมเสมอ

ทุกวันนี้...
ไม่ใช่ "ปลาใหญ่กินปลาเล็ก" เสียแล้ว..
แต่เป็น...
"คนที่เร็วกว่า.. จะชนะ"

และ หากคุณไม่สามารถ "ทิ้งอดีต" ไว้ข้างหลังได้...
คุณก็ยากที่จะเดินไปสู่ "อนาคตข้างหน้า"

ไอน์สไตน์ กล่าวว่า..
"เพียงสิ่งเดียวที่ขัดขวางการเรียนรู้...มันคือ การศึกษา(ที่ได้รับมา)"

...
อ๋อ ครับผม

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การรับฟัง "คำทัดทาน" ว่าด้วยความสำคัญของการเปิดใจรับฟังปัญหา


" อันการรับฟังนั้น...
ก็คือ.. การยอมให้ทักท้วง โดยไม่ต้องอำพราง
เช่นนี้..
จึงจะสามารถรับฟังแผนการของปราชญ์จากเบื้องล่าง.."

การเป็น "ผู้นำ" นั้น..
จำเป็นต้องมีคนที่สามารถให้ทักท้วงได้
เพื่อคอยท้วงติง และแก้ไขสิ่งที่ผิด
มิเช่นนั้น ก็จะเกิดอันตรายขึ้นได้ หากไม่ฟังคำท้วงติง
หรือ ไม่มีใครท้วงติงได้

หากปฏิเสธคำทักท้วงแล้ว...
ปราชญ์ก็ไม่กล้าทักท้วง..
ที่สำคัญ..จะเป็นการ "เปิดช่อง" ให้...คนที่ไม่ดีเข้ามามีอำนาจ
สุดท้ายก็ส่งผลเสียต่อองค์กรหรือประเทศได้

...
อ๋อ ครับผม

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

"เหมือนเอาทองแท่งไปฝนกับหิน" โดย อาจารย์ วศิน อินทสระ


"เหมือนเอาทองแท่งไปฝนกับหิน"

โดย อาจารย์ วศิน อินทสระ

การไปวุ่นวายกับชีวิตของคนบางคน...
มากเกินไป...
อาจทำให้เราเสียใจอยู่บ่อยๆ

คนบางคนมีจิตใจโน้มไปทาง "อกุศล"...
สอนให้ทำดีได้ยาก

เหมือนเอาทองแท่งไปฝนกับหินหรือก้อนอิฐ...
หินไม่เป็นไร...
แต่ทองจะกร่อน

คนเรามีวิบากในจิตไม่เหมือนกัน

หากไปเจอคนอย่างนี้...
"วางเฉย" เสียดีกว่า

...
อ๋อ ครับผม

วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

หน้าที่ของมนุษย์ คือ “ทำปัจจัยให้พร้อม” - พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต)


“การพัฒนาที่ยั่งยืน” ของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต)

การพัฒนาคน Human Development นั้น มี ๓ ด้าน คือ
๑.     ด้านพฤติกรรม
ได้แก่ วินัย การทำมาหาเลี้ยงชีพ วิธีปฏิบัติและเสพบริโภคอย่างแบ่งปันและอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อม
๒.     ด้านจิตใจ
ได้แก่ คุณธรรม ความรู้สึก แรงจูงใจ และสภาพจิตใจ
๓.    ด้านปัญญา
คสามรู้ความเข้าใจเหตุผล การเข้าใจถึงความจริง ทัศนคติ และแนวความคิดต่างๆ

เมื่อการศึกษาที่บูรณาการทั้ง ๓ ด้านนี้ ก็จะเกิดการพัฒนาคนอย่างเป็นองค์รวม
ซึ่งจะทำให้การพัฒนาเชิงวัฒนธรรมเข้ามาบรรจบกับการพัฒนาที่ยั่งยืน

การแก้ปัญหาแบบองค์รวมหรือบูรณาการให้มีดุลยภาพนี้
ก็คือ ความพรั่งพร้อมของ “เหตุปัจจัยหรือองค์ประกอบ” เท่านั้น
คือเมื่อปัจจัยครบถ้วน ผลที่ต้องการก็จะเกิดขึ้น
เพราะฉะนั้น...
หน้าที่ของมนุษย์ คือ “ทำปัจจัยให้พร้อม”

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

ต้องพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ควบคู่ไปกับ “การพัฒนาคนให้มีจริยธรรม” - พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต)


“การพัฒนาที่ยั่งยืน” ของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต)

ปัญหาที่ขัดขวางการแก้ปัญหาธรรมชาติแวดล้อม ทำให้การแก้ปัญหาการพัฒนาสำเร็จ ทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนไม่ได้ ก็เพราะปัญหากิเลส ๓ อย่างที่เป็น “ตัวขัดขวางจริยธรรม” คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ
๑.     ตัณหา ความอยากได้ อยากบำรุงบำเรอตัวเอง อยากได้ประโยชน์
๒.     มานะ ความใฝ่อำนาจ ต้องการยิ่งใหญ่ ครอบงำ
๓.    ทิฏฐิ ความยึดมั่นตลอดจนคลั่งไคล้ในค่านิยม แนวความคิด ลัทธิ ศาสนา อุดมการณ์ต่างๆ ข้อนี้เป็นตัวร้ายที่สุดที่ทำให้ปัญหายืดเยื้อและแก้ได้ยาก

จะต้องพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ควบคู่ไปกับ “การพัฒนาคนให้มีจริยธรรม
แล้วเราจะเข้าสู่ภาวะพัฒนาโดยไม่เพิ่มปัญหา

โดยจริยธรรมนี้ ต้องมีทั้งระดับบุคคล และระดับชาติระดับสังคม
การพัฒนาให้มีจริยธรรม ก็ด้วย “การศึกษา
อย่างน้อยต้องรู้เท่าทันปัญหา

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

คำพูดของ “นักทำลาย” กระบวนการ Killer phases


คำพูดของ “นักทำลาย” กระบวนการ Killer phases

ประเด็นนี้ ผมได้มาจากหนังสือเล่มเล็กๆ(แต่เนื้อหาอย่างแน่น)ที่ชื่อ.... Conflict management
แต่งโดย Dr Jutta Kreyenburg
ท่านได้สรุปไว้ว่า...
ในประเด็น “ความขัดแย้ง” Conflict ที่เกิดขึ้นนั้น...
มันมีอาการ signs บางอย่างที่ฟ้องว่า “กำลังจะเกิด” ความไม่เห็นด้วย หรือ ความขัดแย้ง ...
โดยมีคำพูดบางอย่างออกมา...ที่เรียกว่า “Killer phases
ตัวอย่างที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่...
-มันไม่ได้ผลหรอก -That won’t work!
-เคยลองมาแล้ว(ไม่ได้ผล) -Have already tried that!
-เอาไปลองกับลูกค้าดูสิ- Try that with our customers!
     *อันนี้ผมเจอกับตัวเอง...แรกๆฟังดูดี...มาคิดอีกที “ไม่เห็นด้วย” นี่หว่า!
       จนถึงวันนี้..โครงการนั้นก็ยังไม่ได้ทำเลย...
-อย่าจริงจังนักเลย- Can’t be serious about that!
-ใช้เวลาทำนานเกินไป- Too time-consuming!
-ยังคิดว่าดีไม่พอ- That’s not good enough!
-อันนี้ในงานวิจัยมันดูดี แต่ความจริงในพื้นที่อาจไม่เป็นแบบนั้น- That looks fine on paper!

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กล้าที่จะ “เปลี่ยนแปลง” ชีวิต - ตอนที่ 1


กล้าที่จะ “เปลี่ยนแปลง” ชีวิต - ตอนที่ 1

สิ่งที่แน่นอนที่สุด คือ “การเปลี่ยนแปลง”
(การเปลี่ยนแปลง คือ สิ่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลา)

ทุกวินาทีที่ผ่านไป เราไม่เคยเหมือนเดิม
(ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา)

คนที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ก็มีชีวิต(ความคิด)เหมือนถูกโบกทับด้วยปูนเอาไว้

เพียงคนที่ตายเท่านั้น ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความคิด
(หรือในทำนองกลับกัน - คนที่ยังมีลมหายใจ สามารถเปลี่ยนความคิดได้เสมอ)

เพียงคนที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้

“งู” ที่จะเติบโต ย่อมต้องลอกคราบเก่าออกทิ้งเสมอ

ปราศจากการเปลี่ยนแปลง ย่อมแสดงว่า “ไม่เติบโต” อีกแล้ว...และเมื่อไม่เติบโต อนาคตก็คือ “ความตาย”

คนที่ไม่ชอบเปลี่ยนแปลง มักมีเหตุมาจาก “ความกลัวต่อสิ่งที่เขาเองไม่รู้” Unknown
การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว(ในทุกวัน) ทำให้เราเองต้องมีความสามารถในการปรับตัวได้เร็วขึ้น
ซึ่งแสดงให้เห็นว่า...เราเองต้องมีความสามารถที่จะเรียนรู้ได้รวดเร็ว(จึงจะปรับตัวได้เร็วทันการเปลี่ยนแปลง)

การเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิด “ความสดใหม่” และ “นวัตกรรม”

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประสบการณ์ที่ได้รับรู้จากแบรนด์ คือ ตัวเปลี่ยน "ความคิดการรับรู้" ของผู้ใช้


ข้อคิดจากหนังสือ The Experience effect...

เราทุกคนสัมผัสกับ “แบรนด์” Brands ของสินค้าต่างๆในชีวิต...อยู่ “ตลอดเวลา”
ไม่ว่าเราจะรู้สึกตัวหรือไม่ก็ตาม...
 การสัมผัสแบรนด์สินค้าต่างๆของเรานั้น...สามารถแบ่งเป็นความรู้สึก “หลายระดับ”...
อาจเป็น... “ว้าว!
อาจเป็น... “ก็โอเค”
อาจจะเป็น... “ไม่น่าสนใจ”
หรือ เป็น... “แย่!

สิ่งที่เกิดขึ้นนี้คือ... “ประสบการณ์ตรง...ส่วนตน” Personal Experiences
กับแบรนด์นั้นๆ...
และสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ มันจะเป็นตัวเปลี่ยนแปลง “ความคิด” หรือ “การรับรู้” ของเราเอง Perception

ดังนั้น...
ในบทบาทหน้าที่ “นักการตลาด” แล้ว...
ต้องไม่ยอมให้ “ลูกค้า” มีโอกาสไปทดลองสินค้าอื่นๆ...โดยเฉพาะของคู่แข่ง... “เป็นอันขาด!
ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ...
เช่น...สินค้าขาดตลาด ลูกค้าจำเป็นต้องใช้สินค้าในหมวดนี้ ก็เลยไปลองสินค้าแบรนด์อื่นๆ
หากลูกค้า “รู้สึกว่า” ไม่แตกต่าง...เขาก็อาจจะลดระดับ “ความภักดี” Loyal ต่อแบรนด์ของเรา
...
เป็นต้น

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

คิดอย่างไร...เป็นอย่างนั้น - Attitude is Everything !


Attitude toolkit (1): the power of visualization
พลังของการคิดภาพความสำเร็จในอนาคต
คือ ภาพที่เราอยากให้เกิดขึ้นนั่นเอง
ตรงนี้เป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับตนเองที่ทรงพลังมากทีเดียว
ส่วนมากเรามักจะทำเพียงการตั้งเป้าหมาย
หากเราเพิ่มพลังของเป้าหมายด้วย “การสร้างภาพความสำเร็จในอนาคต
โอกาสความสำเร็จย่อมมีอยู่สูง!

Attitude toolkit (2): protect your eye-gate
รักษาการรับรู้ที่ดีๆ
ดวงตาคือช่องทางของการรับรู้ที่สำคัญ
ก่อนเข้าสู่สมองของเรา
เราต้องรักษาให้ตาของเรารับรู้แต่สิ่งดีๆ (ก่อนนำเข้าไปคิดอยู่ในสมอง)
เช่น ดูทีวีรายการดีๆ เรื่องราวในมุมบวก หรือที่มีประโยชน์ต่อความรู้สึกของเรา
อ่านหนังสือดีๆ ที่ให้มุมบวกกับชีวิต เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เลือกที่จะเป็นผู้นำแบบ "เล่าปี่" หรือ "โจโฉ" ?


ขึ้นชื่อว่า "ผู้นำ" แล้ว
ต้องมีแบบแผน "ชีวิต" ที่แตกต่าง

แน่นอนว่า...ในเรื่องเกี่ยวกับผู้นำจากตำนานแล้ว
ต้องนึกถึง "ผู้นำจากสามก๊ก"

ที่โดดเด่น และ แข่งขันกันมาตลอด
เห็นจะเป็น ๒ ตัวเอก คือ...
"เล่าปี่" กับ "โจโฉ"
เป็น ๒ แบบที่แตกต่างกัน "ชัดเจน"

"เล่าปี่"...อ่อนนอก แข็งใน
บุคลิกน่าคบหา.. น่าเลื่อมใส
ดูมีหลักการ..มีคุณธรรมสูง...ไม่เอาเปรียบ..ให้เกียรติ
เรื่องบู๊ก็ไม่เป็นรองใคร...ด้วยกระบวนท่า "กระบี่คู่" 
สร้างผลงานโดดเด่นแบบ "ทีมเวิร์ค" (กับกวนอูและเตียวหุย)

"โจโฉ"...นอกก็แข็ง ในก็แข็ง
วิสัยทัศน์และอุดมการณ์เป้าหมาย "ชัดเจน"..มุ่งมั่น
ไม่ยอมให้ใครขวางทาง "ความสำเร็จ"
เก่งทั้ง "บู๊และบุ๋น" 
มีภาพ "ความเป็นผู้นำ" สูงมาก
ด้วยความ "เด็ดขาด" 
ข้อที่โดดเด่นข้อหนึ่ง คือ...
"ชอบคนเก่ง-มีความสามารถ"
ทำให้มีพวกเยอะ (เครือข่าย)

...
เมื่อเราต้องเป็นผู้นำกลุ่ม
ก็ต้องเลือกให้ชัดเจนว่า...
จะเอาอย่างไหน...
"เล่าปี่ หรือ โจโฉ"...เอาให้แน่

ทั้งนี้ทั้งนั้น...
แบบไหนก็ตาม..ย่อมนำพาไปสู่ความสำเร็จได้เช่นกัน
ขึ้นอยู่กับ "การบริหารจัดการ" และ "จังหวะเวลา"
บวก "โชคชะตา" อีกเล็กน้อย

...
อ๋อ ครับผม