วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สิ่งที่จะช่วยให้เป็น "ผู้นำที่ดี" (และเก่ง)...


คนไทยมักจะพูดถึงผู้นำ ๒ แบบ คือ
แบบมีพระเดช และ พระคุณ
หรือ...เรียกว่า..
แบบมีอำนาจ หรือ มีบารมี

แต่สิ่งที่ถือว่า ผู้นำมีแล้วย่อมดีกว่า คือ "บารมี"
และว่าไปแล้วการนำนั้น ก็น่าจะต้องมีทั้งสองอย่างร่วมกัน
ใช้ตามสถานการณ์...

เครื่องมือ หรือ สิ่งที่จะส่งเสริมการเป็น "ผู้นำที่ดี" และเก่ง ได้แก่

๑. พลังการโน้มน้าว Persuation
     ที่สามารถโน้มน้าวคนอื่นๆได้ดี

๒. ความอดทน อดกลั้น Patience

๓. เปิดใจ Openness
     รับฟังความคิดเห็นของคนอื่นๆ และผู้ตามได้

๔. ใส่ใจ Kindness & Caring
      ให้ความสนใจ ใส่ใจดูแลผู้ตาม

๕. กรุณา Compassionate confrontation
      สามารถมองเห็นสิ่งที่ผิดพลาดและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น แล้วช่วยผู้ตามให้ระมัดระวังสิ่งดังกล่าว

๖. มีคุณธรรม Integrity


จริงๆแล้วคงมีอีกมากมายหลายเรื่องที่จะส่งเสริมการเป็นผู้นำที่ดีและเก่ง
ลองปรับใช้และเรียนรู้ดูครับผม

อ๋อ ขอรับ

วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ลักษณะของ "ผู้นำที่ดี" คือ...



"ผู้นำที่ดี" ...

เป็นคนที่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
อยู่ใกล้ๆแล้วจะรู้สึก มีพลังความคิดบวก เสมอ
เชื่อในความสามารถของผู้อื่น
มีความสมดุลในชีวิต (ตนเอง ครอบครัว สังคม งาน)
ทำงานเก่ง (ทำงานหนัก พอๆกับ ทำงานวางแผน)
เตรียมความพร้อมเสมอสำหรับการทำงาน (เรื่องฉุกเฉินลืมไปได้เลย)
มองการให้บริการคนอื่นๆ คืองานสำคัญ
มองชีวิตคือการเรียนรู้ การเดินทาง (มันมีทั้งด้านดีและด้านไม่ดี)

...
อ๋อ ครับผม

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วิธีคิด และ ข้อระลึก ของการเป็น "Coach ที่ดีที่สุด"


ตัว Coach เอง...
ต้องรักษา “วิธีคิดและวางบทบาทในการสอนงานอย่างต่อเนื่อง” (maintain the mindset of coach)
และที่สำคัญอีกอย่างคือ...
“ต้องรักษาความเชื่อมั่นที่ว่า ผู้รับการชี้แนะนั้น มีความสามารถในการปฏิบัติตามข้อตกลงได้จริง และจะพบความสำเร็จในที่สุด” (Believing in their ability)
ต้องระลึกไว้เช่นนี้เสมอ!

รายละเอียดที่ http://coach-ampol.blogspot.com/2011/10/how-tocoach.html

อ๋อ ครับผม

ทำงานเอง กับ ทำงานแบบมี coach หรือคนชี้แนะ นั้น “ต่างกัน” แน่นอน


พนักงานกลุ่มที่มีทักษะหรือประสบการณ์ มักถูกทิ้งให้ทำงานคนเดียว หาทางทำงานเอง stand alone
ต้องระลึกไว้เสมอว่า...
ทำงานเอง กับ ทำงานแบบมี coach หรือคนชี้แนะ นั้น “ต่างกัน” แน่นอน
เพราะการมีคนชี้แนะนั้น งานจะออกมาดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด และยังเป็นการสร้างแรงกระตุ้นในการทำงานที่ดีอีกด้วย
หากทิ้งให้พวกเขาโดดเดี่ยวแล้ว สิ่งที่จะพบคือ “การลาออก” สูงมากขึ้น

รายละเอียดที่ http://coach-ampol.blogspot.com/2011/10/coach-errors.html

อ๋อ ครับผม

สิ่งสำคัญที่สุดของ “การสอน” คือ การรู้ว่าผู้เรียน "รับรู้" อะไรบ้าง...


สิ่งสำคัญที่สุดของ “การสอน” คือ...
การที่จะประเมินว่า “ผู้เรียนได้เรียนรู้หรือรับรู้อะไรไปบ้าง?”
ระวังการประเมินโดยใช้เกณฑ์ “ผู้สอนได้สอนอะไรไปบ้าง?” ซึ่งหากใช้เกณฑ์นี้ จะเป็นความผิดพลาดอย่างมากทีเดียวในการสอน และจะส่งผลให้ การสอนประสบความล้มเหลวในที่สุด
โดยสรุปแล้ว...
“ผู้ที่สอนงานเก่ง” Good Coach ก็คือ “ครูที่เก่ง” Good Teacher นั่นเอง


รายละเอียดที่ http://coach-ampol.blogspot.com/2011/10/coachs-mind-set.html

อ๋อ ครับผม

วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554

The BOSS ตอนที่ ๔ – “ชี้แนะ” Coaching จากเจ้านายต่อลูกน้อง...ความสามารถพิเศษที่ฝึกได้



หนังสือ The BOSS บริหารคนอย่างเหนือชั้น
ไม่แน่ใจคนเขียนนะครับ แต่เขียนได้ดีครับ อ่านง่าย กระชับ นำไปใช้ได้เลย
แปลโดย อาจารย์ อดุลย์ รัตนมั่นเกษม
การเป็น “นาย” หรือ Boss นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายหรอกครับ
รับผิดชอบเยอะ ทั้งเรื่องงาน และ เรื่อง “คน”

The BOSS ตอนที่ ๔ – “ชี้แนะ” Coaching จากเจ้านายต่อลูกน้อง...ความสามารถพิเศษที่ฝึกได้
เป็นการช่วยเหลือลูกน้องให้สามารถใช้ศักยภาพที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ และสามารถสร้างผลงาน “เข้าตากรรมการ” เพื่อจะเติบโตขึ้นไปในระดับสูงขึ้นในองค์กร
โดยผู้เขียนได้สรุป “การชี้แนะแนวทางการทำงาน” ของเจ้านาย ไว้  หลายเรื่องด้วยกัน ได้แก่
1.   กำหนดเป้าหมาย
ถือเป็น “กฎข้อที่ ๑” ในการให้คำแนะนำชี้แนะเลยทีเดียว
ลูกน้องต้องเข้าใจเป้าหมายการทำงานอย่างชัดเจน

2.   มีบรรทัดฐาน
หากบรรทัดฐานสูงเกินไป ลูกน้องจะเครียดมากกว่าที่จะเป็นผลดี
ดังนั้น บรรทัดฐานจึงควรคำนึงหรือกำหนดตามความสามารถของลูกน้องแต่ละคนด้วย
เพื่อไม่ให้เกิดภาวะกดดันหรือเครียดมากเกินไป

3.   คำสั่งต้องชัดเจน
เจ้านายที่แนะนำหรือชี้แนะจะต้องให้คำพูดหรือเนื้อหาที่บอกไป ชัดเจน ไม่คลุมเครือ
คำที่คลุมเครือ ก็อย่างเช่น “อาจจะ” “บางที” เป็นต้น

4.   การมีส่วนร่วม(กับงานของลูกน้อง)
การให้คำชี้แนะขแงเจ้านายนั้น บางทีอาจจะต้องแสดงออกหรือเข้าไปมีส่วนร่วมบางส่วนของงาน
เพื่อให้ลูกน้องมีความเชื่อมั่นกับงานที่ทำว่าจะบรรลุความสำเร็จได้อย่างไม่ต้องสงสัย

5.   กระตุ้นให้ลูกน้องแสดงความคิดเห็น
ลูกน้องหลายคน มักเกรงใจเจ้านาย จึงไม่ค่อยสอบถามแม้จะสงสัย คือลองทำไปก่อนแล้วค่อยถาม
แต่ในการให้คำชี้แนะนั้น เจ้านายจะต้องกระตุ้นหรือถามลูกน้องถึงความเข้าใจหรือความชัดเจนในข้อตกลงในการทำงาน
อย่างน้อยก็เพื่อให้ลูกน้องทำงานได้อย่างเข้าใจ แจ่มแจ้ง ราบรื่นตลอดงานที่ได้รับมอบหมาย

6.   ยกตัวอย่างประกอบ
แน่นอนว่า การใช้แต่คำพูดหรือทฤษฎีล้วนๆกับลูกน้องนั้น ความเข้าใจอาจไม่แจ่มแจ้งทั้งหมด โดยเฉพาะความจริงที่ว่า ลูกน้องแต่ละคนมีระดับความเข้าใจหรือการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไป
การให้ตัวอย่างประกอบย่อมทำให้ความเข้าใจมีมากขึ้นกว่าเดิม
โอกาสที่ลูกน้องจะทำงานได้อย่างถูกต้อง ก็จะมีมากขึ้น

จริงแล้วมีอีกหลายข้อ แต่ขอยกเฉพาะที่น่าสนใจจริงๆมา 6 ข้อเท่านั้น
ลองปรับใช้ดูนะครับ เพื่อองค์กรจะได้ก้าวหน้าไปอย่างดียิ่งขึ้น และ นำพาความสำเร็จมาสู่ทุกคนในองค์กร ทำให้องค์กรดำเนินไปและเติบโตอย่างยั่งยืน.

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

The BOSS ตอนที่ ๓ – “หน้าที่ความรับผิดชอบ” ของเจ้านายที่ต้องดูแลลูกน้อง...ต้องใช้ศิลปะ



หนังสือ The BOSS บริหารคนอย่างเหนือชั้น
ไม่แน่ใจคนเขียนนะครับ แต่เขียนได้ดีครับ อ่านง่าย กระชับ นำไปใช้ได้เลย
แปลโดย อาจารย์ อดุลย์ รัตนมั่นเกษม
การเป็น “นาย” หรือ Boss นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายหรอกครับ
รับผิดชอบเยอะ ทั้งเรื่องงาน และ เรื่อง “คน”

ตอนที่ ๓ – “หน้าที่ความรับผิดชอบ” ของเจ้านายที่ต้องดูแลลูกน้อง...ต้องใช้ศิลปะ
โดยผู้เขียนได้สรุป “หน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้านาย” ไว้ 5 เรื่องด้วยกัน ได้แก่
1.   มอบอำนาจให้ลูกน้อง ตามสมควร
ต้องรู้ความสามารถของลูกน้องแต่ละคน
แล้วต้องให้ลูกน้องรู้ถึงขอบข่ายงานที่ต้องทำอย่างชัดเจน
ให้อำนาจในการทำงานอย่างเต็มที่ในขอบข่ายดังกล่าว

2.   อย่าช่วยเหลือแนะนำลูกน้อง มากจนเกินไป
การก้าวก่ายงานลูกน้องมากไป ก็เหมือนทำงานช่วยลูกน้องจนลูกน้องอาจไม่กล้าใช้ความสามารถเต็มที่ หรือ อยู่ในสถานะพึ่งพาเจ้านายเสมอๆ
เมื่อมอบหมายงานแล้ว ควรไว้วางใจ สอบถามบ้างตามโอกาส และช่วยในความคืบหน้าของงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย

3.   อย่าแย่งความดีความชอบ จนพร่ำเพรื่อ
เจ้านายหลายคนมักคิดว่า ผลงานลูกน้องเกิดจากการวางแผนหรือการสนับสนุนของตนเอง คือ คิดว่าผลงานนั้นๆ เกิดจากความดีความชอบของตนเอง
แน่นอนว่า ลูกน้องทำได้ดี ก็มีส่วนมาจากเจ้านายส่วนหนึ่ง
แต่ก็ควรต้องชื่นชมลูกน้องด้วย คุยกับผู้ใหญ่ถึงผลงานของลูกน้องด้วย

4.   เน้นศีลธรรมจรรยาในอาชีพ
ไม่ไปเน้นเรื่องตัวเงินมากเกินไป
พูดให้ลูกน้องได้เห็นภาพการทำงานที่ไม่ได้ทำเพื่อเงินอย่างเดียว
มีเรื่องคุณค่าของชีวิตด้วย

5.   ละทิ้งเรื่องส่วนตัว
ไม่เอาเรื่องส่วนตัวมาที่ทำงาน
ควรเห็นอกเห็นใจลูกน้องที่ไม่สบายใจ
ต้องอดทน อดกลั้น
แสดงน้ำใจ
ต้องชี้แนะ ช่วยผ่อนคลาย

ลองปรับใช้ดูนะครับ เพื่อองค์กรจะได้ก้าวหน้าไปอย่างดียิ่งขึ้น และ นำพาความสำเร็จมาสู่ทุกคนในองค์กร ทำให้องค์กรดำเนินไปและเติบโตอย่างยั่งยืน.


ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

The BOSS ตอนที่ ๒ – “ทำตัวเป็นตัวอย่าง” จากเจ้านายสู่ลูกน้อง...เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม


หนังสือ The BOSS บริหารคนอย่างเหนือชั้น
ไม่แน่ใจคนเขียนนะครับ แต่เขียนได้ดีครับ อ่านง่าย กระชับ นำไปใช้ได้เลย
แปลโดย อาจารย์ อดุลย์ รัตนมั่นเกษม
การเป็น “นาย” หรือ Boss นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายหรอกครับ
รับผิดชอบเยอะ ทั้งเรื่องงาน และ เรื่อง “คน”

ตอนที่ ๒ – “ทำตัวเป็นตัวอย่าง” จากเจ้านายสู่ลูกน้อง...เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
การทำตามคำสั่งของลูกน้องนั่นเป็นเรื่องไม่ยาก แต่การยอมรับอย่างจริงใจนั้น ยากมากทีเดียว วิธีหนึ่งที่ใช้ได้ผล คือ การทำตัวเป็นตัวอย่างของเจ้านาย นั่นเอง
โดยผู้เขียนได้สรุป “การทำตนให้เป็นตัวอย่างของเจ้านาย” ไว้ 6 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
1.   กระตือรือร้นในการทำงาน
ยิ้มแย้มแจ่มใส มีอารมณ์มุ่งมั่นในการทำงาน
แยกเรื่องส่วนตัวกับเรื่องงานออกจากกัน
ร่วมทำงานกับลูกน้องเสมอ

2.   ให้ความสำคัญกับเรื่องเวลา
อันนี้ชัดเจน คือ เรื่อง การตรงต่อเวลา กำหนดเวลาอย่างไร ยึดถือตามนั้น
เป็นตัวอย่างในการตรงต่อเวลาเสมอ

3.   เด็ดขาด รวดเร็ว
ไม่โลเล ความคิดและการตัดสินใจต้องรวดเร็ว ทันการณ์ และต้องเด็ดขาด ไม่เปลี่ยนแปลง
ต้องมองรอบ ช่วยลูกน้องคิดในมุมกว้าง เข้าใจสภาพแวดล้อมต่างๆ เพื่อช่วยการตัดสินใจได้ดี

4.   สุขุม เยือกเย็น
ความคิดและการตัดสินใจ นอกจากจะรวดเร็ว แล้วต้องถูกต้อง ต้องเฉลียวฉลาดในความคิด จึงจะสามารถควบคุมสถานการณ์ต่างๆได้ดีและมีประสิทธิภาพสูง
ต้องไม่ตื่นตระหนกตกใจกับการเกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ คือ สุขุม นั่นเอง
ต้องมี ความเป็นผู้ใหญ่เพียงพอ และแสดงให้ลูกน้องเห็น มีความเป็นธรรม

5.   กายวาจาตรงกัน
อย่ามีลักษณะ “พูดอย่างทำอีกอย่าง”
ต้องพูดแล้วก็ทำอย่างที่พูด มิฉะนั้น จะขาดความน่าเชื่อถือจากลูกน้อง

6.   ไม่ปัดความรับผิดชอบ
รับชอบ แล้วต้องรับผิดได้ด้วย
ลูกน้องทำงานดี เจ้านายรับชอบ
ลูกน้องทำงานพลาด เจ้านายต้องร่วมรับผิดชอบ ไม่ปัดความผิดไปที่ลูกน้อง
การที่ลูกน้องทำพลาด ก็ต้องมีสาเหตุ จึงต้องร่วมด้วยช่วยกันแก้ไข หาสาเหตุที่แท้จริงให้พบ แล้วร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆร่วมกับลูกน้อง

ลองปรับใช้ดูนะครับ เพื่อองค์กรจะได้ก้าวหน้าไปอย่างดียิ่งขึ้น และ นำพาความสำเร็จมาสู่ทุกคนในองค์กร ทำให้องค์กรดำเนินไปและเติบโตอย่างยั่งยืน.

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

The BOSS ตอนที่ ๑ – “นิสัยใจคอ” ของลูกน้อง มีหลายแบบ..ต้องเข้าใจเป็นเบื้องต้น

หนังสือ The BOSS บริหารคนอย่างเหนือชั้น เขียนโดย อาจารย์ อดุลย์ รัตนมั่นเกษม
เขียนได้ดีครับ อ่านง่าย กระชับ นำไปใช้ได้เลย

การเป็น “นาย” หรือ Boss นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายหรอกครับ
รับผิดชอบเยอะ ทั้งเรื่องงาน และ เรื่อง “คน”
โดยเฉพาะเรื่องคนนี่ “เป็นประเด็น” มากทีเดียว เพราะการทำให้คนพอใจทุกคนนั้น ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้เอาเสียเลย แต่การทำให้ทุกคนอยู่ด้วยกันได้โดยไม่มีความขัดแย้งหรือมีความขัดแย้งก็มีให้น้อยนั้น อาจจะพอทำได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า “นาย” เข้าใจงานในด้านการดูแลคนมากน้อยเพียงใด


ตอนที่ ๑ – “นิสัยใจคอ” ของลูกน้อง มีหลายแบบ..ต้องเข้าใจเป็นเบื้องต้น

“นิสัยใจคอ” ของลูกน้อง มีหลายแบบ..ต้องเข้าใจเป็นเบื้องต้นเสียก่อน จึงจะจัดการเรี่องคนได้ดีมากขึ้น
โดยอาจารย์อดุลย์ได้สรุปนิสัยใจคอของลูกน้องไว้ 6 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
1.   ลูกน้องประเภทหัวแข็งดื้อด้าน
ลูกน้องบางส่วนเป็นพวก “รักศักดิ์ศรี” อย่างมาก
ดังนั้น เวลาอยู่ต่อหน้าคนอื่นๆ (รวมถึงเจ้านาย) ก็มักจะทำตัวแบบ “ดื้อ” ไม่ยอมก้มหัวให้ง่ายๆ
บางครั้งก็จะพบว่าเป็นพวก “ดื้อเงียบ” คือ เหมือนจะฟังและเข้าใจ พอลับหลังไป ก็ไปพูดแบบไม่เห็นด้วย แล้วยืนกรานความคิดเห็นของตนเองอย่างแน่นเหนียว ซึ่งผมเองก็เจอมาพอควรครับแบบนี้
วิธีแก้ไข คือ...
พูดแบบใจเย็นๆ ในเชิงข้อร้องให้ช่วยงาน
พูดขอร้องให้ช่วย ต่อหน้าเพื่อนร่วมงาน
โดยสรุปก็คือ “ให้เกียรติมากขึ้น” นั่นเอง

2.   ลูกน้องประเภททำงานตามระเบียบ
ข้อดีคือ ทำตามที่นายสั่งทุกประการ
ข้อเสียคือ นอกคำสั่งเจ้านาย แม้ดีก็ไม่ทำ
อีกคำหนึ่งที่มีการให้นิยามกลุ่มนี้คือ “เช้าชามเย็นชาม”
ประเด็นก็คือ ทำงานเหมือนเครื่องจักร ทำให้เมื่อเกิดความผิดพลาดบางประการ ไม่สามารถรู้ได้ทันการณ์ ทำให้แก้ไขไม่ทันเวลา เกิดความเสียหายมากกว่า
วิธีแก้ไข คือ...
ชมเชยที่ทำงานได้ตามแผนงาน
แต่ต้องกระตุ้นให้แสดงความคิดเห็นออกมา และ ลงรายละเอียดมากขึ้น
กระตุ้นให้สามารถตัดสินใจในการแก้ปัญหาได้เองด้วย

3.   ลูกน้องประเภทชอบแสดงออก
กลุ่มนี้มีความเชื่อมั่นสูง ใจร้อน อยากแสดงออก
พบได้มากในน้องๆที่จบมาใหม่ๆ ไฟแรง พลังเยอะ อยากแสดงผลงานให้ประจักษ์
ข้อเสียคือ มองข้าม “จังหวะที่เหมาะสม” ไป ไม่ค่อยอดทน และทำงานแบบขาดลำดับการจัดงานที่สำคัญ (Priority)
ข้อดีคือ ไม่ย่อท้อต่อความล้มเหลว มีความพยายามทำอย่างเต็มที่
วิธีแก้ไข คือ...
แสดงความชื่มชมในความตั้งใจ และ พยายามสูง
แต่ต้องกระตุ้นให้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เรียนรู้การทำงานตามลำดับที่สำคัญ

4.   ลูกน้องประเภทกลัวยากลำบาก
หรืออาจเรียว่า “อู้งาน” ก็อาจจะได้ในบางกลุ่ม
บางส่วนมักจะพบเห็นว่า พวกเขาจะดูเหมือน “ยุ่งตลอดเวลา”
และบางส่วนจะเป็น “คนที่ขาดความมั่นใจ”
วิธีแก้ไข คือ...
อาจจะกระตุ้นโดยการตรวจสอบความคืบหน้าของงานบ่อยๆ
กระตุ้นให้พวกเขาแก้ไขปัญหาด้วยตนเองมากขึ้น ต้องกล้าตัดสินใจในบางเรื่อง

5.   ลูกน้องประเภทซื่อบริสุทธิ์
มักเป็นกลุ่มที่พึ่งจะจบการศึกษาเช่นกัน
มีประสบการณ์น้อย มีความต้องการความสำเร็จและคำชื่นชมจากหัวหน้างาน และอยากให้คนอื่นๆยอมรับตนเอง
ชีวิตเหมือนจะไปขึ้นกับคนอื่นๆมากกว่าตนเอง เสียส่วนใหญ่
วิธีแก้ไข คือ...
พูดชมในการทำงาน และให้กำลังใจ
พยายามช่วยให้พวกเขามีความมั่นใจมากขึ้น

6.   ลูกน้องประเภทชอบความสมบูรณ์แบบ
ดูเหมือนกลุ่มนี้จะดี แต่กลับตรงข้าม เพราะความต้องการ “สมบูรณ์แบบ” นี้เอง ที่ทำให้พวกเขาทำงานล่าช้ากว่าเป้าหมาย ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานต่ำในที่สุด
และประเด็นที่สำคัญเรื่องหนึ่ง คือ พวกนี้จะไม่ชอบการวิพากษ์วิจารณ์
วิธีแก้ไข คือ...
เจ้านายต้องเน้นให้พวกเขารู้ “จุดสำคัญที่สุดของงาน” แต่ละอย่าง แล้วให้เขาคำนึงถึงจุดนั้นมากๆ เพื่อเน้นให้เกิดประสิทธิภาพของงานนั้นๆ
หากจะเน้นการปฏิบัติงานของพวกเขา ต้องทำบ่อยๆ อย่างเหมาะสม ไม่กดดันมากจนเกินไป

นี่เป็นภาพรวมของ “ลักษณะนิสัยของลูกน้อง” ทั้ง 6 แบบครับ
ลองปรับใช้ดูนะครับ เพื่อองค์กรจะได้ก้าวหน้าไปอย่างดียิ่งขึ้น และ นำพาความสำเร็จมาสู่ทุกคนในองค์กร ทำให้องค์กรดำเนินไปและเติบโตอย่างยั่งยืน.

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ


วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Good Words - ประโยดดีดี จาก 'Release your Brilliance' book...


"เพชรเท่านั้น...ที่ตัดเพชรได้"

"คุณจะเปล่งประกายความเก่งของคุณได้ ก็ต่อเมื่อคุณใช้ประโยชน์จากความสามารถจริงๆของคุณ"

"คนที่เป็นคนเก่งจริงๆ เขาจะสามารถเชื่องโยงสิ่งต่างๆได้ดี คือ ความคิด ความเชื่อ การกระทำ และ ผลลัพธ์ที่ต้องการ"

"เป้าหมายอย่างเดียวของคุณ คือ การค้นให้เจอ ความสามารถจริงๆที่ซ่อนอยู่ในตัวคุณ"

"การลงมือทำ คือ สิ่งที่จะทำให้คุณแกร่งขึ้น เก่งขึ้น"

"หากคุณมีเพื่อนมากมาย แต่ความสัมพันธ์แย่ แสดงว่า ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องแล้วล่ะ!"

"หากคุณต้องการเพิ่มความเปล่งประกายความเก่งของคุณ ต้องเริ่มที่การขยายวิธีคิดของคุณก่อน"

"ทุกสิ่งเป็นไปได้ หากคุณเชื่อว่ามันเป็นไปได้จริง!"

...

อ๋อ ครับผม

วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Release your Brilliance – เปล่งประกาย “ความสุดยอด” ของคุณออกมา ให้โลกรู้!

Release your Brilliance – เปล่งประกาย “ความสุดยอด” ของคุณออกมา ให้โลกรู้!

เป็นหนังสืออีกเล่มหนังที่อ่านง่าย และ ให้กำลังใจสูงมาก
เขียนโดย Simon T. Bailey เป็นคนดำที่ถูกมองไม่ดี เหยียดผิว ในวัยเด็ก
แต่เขาสามารถเปลี่ยนมุมคิด เพื่อเปล่งประกายความสุดยอด หรือ “ความยิ่งใหญ่” ออกมาได้
สุดยอดครับ...

“ถิ่นที่เกิด หรือ ชีวิตที่ผ่านๆมา ไม่ได้เป็นตัวกำหนด อนาคต/ชะตาชีวิตของคุณ(Destiny)
“ชีวิตทุกคนเกิดมากับความแตกต่างที่โดดเด่น แต่หลายคนยอมตายไปกับชีวิตที่เหมือนๆกับคนอื่นๆทั่วไป”



สิ่งหนึ่งที่ Simon ค้นพบคือ...
“ความสุดยอด” หรือ “ศักยภาพ” ในตัวคนเรา ไม่ได้หายไปไหน...
เพียงแต่...
เราเก็บมันไว้ภาพในโดย “ลืม” ไปว่าเรามีศักยภาพอันนั้น!

ดังนั้น...
มีขั้นตอนที่แนะนำ 4 ขั้นตอนที่จะ “งัด” เอาพลังศักยภาพของเราที่อยู่ลึกๆ... ออกมาใช้
ได้แก่...
1.   Clarify – ค้นให้เจอ “สิ่งที่อยู่ภายใน”
เรียนรู้ตนเอง...หาให้เจอว่า “ความสุดยอดของเรา” คืออะไร?
ประเมิน “จุดแข็ง หรือ จุดเด่น” ของเรา ให้เห็นชัดเจนว่า อะไรคือ “ศักยภาพ” ของเรา ?

2.   Color – จับจ้อง และ มุ่งไปยัง “ศักยภาพ” ของเราอันนั้น
“วิธีคิด” ของเรานั้น สำคัญมากที่สุด
เมื่อเห็นศักยภาพของเราเองแล้ว เราจะใช้มันอย่างไร ?
ใช้แค่พอประทังชีวิต หรือ จะใช้มันสร้างความยิ่งใหญ่ ?
คุณเชื่อเพียงพอหรือไม่ ว่า คุณจะใช้ศักยภาพอันนี้ได้จริง ?

3.   Cut – แสดงและพัฒนาศักยภาพให้ใช้ประโยชน์ได้
ต้องเรียนรู้ว่า จะมีปัจจัย หรือ สิ่งใดที่จะนำเอาศักยภาพไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง
อาจจะต้องเปลี่ยนมุมคิดและพฤติกรรมบางอย่าง
อาจจะต้องสร้างความสัมพันธ์และเครือข่าย ที่จะใช้ประโยชน์ศักยภาพอันนี้
พัฒนา “เครื่องไม้เครื่องมือ” ที่จะนำเอาศักยภาพไปใช้ประโยชน์

4.   Carat – ตัดสินใจ แล้วเชื่อและมุ่งมั่นว่า “ศักยภาพ” ของเรานั้นใช้ประโยชน์ได้อย่างยิ่งใหญ่
เมื่อรู้...
เมื่อคิดได้ถูกต้อง...
ก็ต้องเชื่อมั่นตนเอง..
แล้วมุ่งมั่นไปสู่ “จุดที่ยิ่งใหญ่” ของชีวิต โดยใช้ศักยภาพที่เรามีและเอาออกมาใช้ได้
นำมันไปใช้ประโยชน์จริงๆ
มุ่งอยู่กับปัจจุบันหรือเรื่องที่ทำ...ต้องสร้างความสำเร็จแต่ละขั้นตอนของการก้าวเดิน

...ทุกอย่างเป็นไปได้เสมอ เริ่มต้นจากความเชื่อในใจเราเอง...

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ