การอยู่ร่วมกันของเหตุผลและอารมณ์ – “โลก 10 สิ่ง” ของ พระอาจารย์ นิชิเร็น ไดโชเน็น
มนุษย์มักมีสองด้าน ระหว่าง เหตุผล กับ อารมณ์ ซึ่งมักไม่ค่อยจะไปทางเดียวกันนัก
พระนักวิชาการที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น “อาจารย์ นิชิเร็น ไดโชเน็น” ได้แสดงถึงหลักเรื่องหนึ่งจาก “พุทธศาสนา” คือเรื่อง “โลก 10 สิ่ง” อันได้แก่
(ไม่แน่ใจว่าอยู่เฉพาะในมหายานหรือไม่ เอาเป็นว่าเราเอา “แก่น” หรือ “ประเด็นสำคัญ” ไปปรับใช้แล้วกันนะครับ)
๑. นรก หรือ ความรู้สึกแย่ๆ
เมื่อมีเรื่องร้ายๆเกิดขึ้น เราเกิดความขุ่นเคืองใจ อารมณ์ไม่ดี กังวล กลัว เศร้า ทุกข์
๒. ความโลภ (บางทีใช้คำว่า “ความหิว”)
ถูกครอบงำด้วยความอยาก ตัณหา
๓. สัญชาตญาณ
เป็นความอยากที่มีมาแต่เดิม ตามธรรมชาติ เช่น ความต้องการอาหาร ความต้องการทางเพศ
๔. ความโกรธ
ควบคุมสติไม่อยู่ หงุดหงิด อารมณ์เสีย โกรธ
๕. ความสงบเย็น
เป็นสภาวะแห่งสันติสุข
๖. ความปลาบปลื้ม
ความดีใจ ความสุขสันต์ ที่เกิดขึ้นแล้วก็จะหายไป
๗. การเรียนรู้
เป็นทักษะที่ทำเพื่อการรับรู้ การฝึกฝน การใช้เหตุผล
๘. การตระหนักรู้
การค้นพบ การสร้างสรรค์ การคิด การเชื่องโยง
๙. การช่วยเหลือ
เป็นสภาวะที่จิตเป็นผู้ให้ ในด้านที่เป็นกุศล ไม่ต้องการสิ่งตอบแทน
๑๐.การรู้ตื่น
ประเด็นนี้ไม่ใช่การมีสติแบบ 9 อย่างข้างต้น เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นสติชั่วครู่ อาจมีมากมีน้อยตามแต่สภาพที่เกิดขึ้นของสติ
แต่ข้อสิบ “การรู้ตื่น” นี้ คือ สภาวะที่ไม่หวั่นไหวต่อความทุกข์ เป็นสภาวะที่ทางพุทธศาสนาต้องการให้เป็นเป้าหมายของชีวิตนั่นเอง
สิ่งทั้ง 10 นี้ จะเกิดขึ้นกับชีวิตของมนุษย์สลับกันไปมาหรือเกิดพร้อมๆกันก็ได้
แล้วแต่ว่าชีวิตขิงเราไปประสบกับสภาวะไหนบ้าง? ต่อเนื่องกันอย่างไร?
ลองสังเกตดูว่า...ณ ขณะนี้ เรามีสภาวะไหนเกิดขึ้นบ้าง...เรียนรู้และปรับใช้ดูครับ
หากจะอ่านภาษาไทยเพิ่มเติม อ่านได้จากฉบับแปลของอาจารย์ สุรพงษ์ สุวจิตตานนท์ หนังสือชื่อ “ชีวิตนี้มีคำถาม”...
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ