10 Deadly Marketing Sins
บาปร้ายแรงด้านการตลาด 10 ประการ
เป็นหนังสือของอาจารย์ฟิลิป คอตเลอร์ ซึ่งแปลโดยคุณ ดนัย จันทร์เจ้าฉาย
หนังสือเล่นนี้ออกมานานแล้ว เฉพาะหนังสือแปลก็ปี 2004
แต่เนื้อหาสาระไม่ได้เก่าไปตามหนังสือแต่อย่างใดครับ
ยังพบเห็นกรณี ”บาป” ได้อยู่เสมอในปัจจุบัน
ผมไม่ค่อยอยากเรียกว่า “บาป” เท่าใดนัก... เพราะดูมันมีระดับอ่อนไป
ผมอยากใช้คำว่า “ความผิดพลาดที่ทำให้ธุรกิจล้มเหลว” มากกว่า...
ให้สมกับผลกระทบที่มันเกิดขึ้นในองค์กรที่เพิกเฉยต่อ 10 ประการในหนังสือเล่มนี้
ความผิดพลาดที่ 1
องค์กรไม่รู้จักตลาดดีพอ และไม่ใส่ใจลูกค้าของตนเองดีพอ
แก้ไขโดย-การทำ STP (=Segmentation, Targeting and Positioning)
ความผิดพลาดที่ 2
องค์กรไม่เข้าใจ “กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย” ดีเพียงพอ รู้ไม่จริง
แก้ไขโดย-๑) ตรวจสอบ Need, Want, Desire, Attitude, Behavior ของลูกค้าอย่างละเอียดให้เข้าใจ แล้ว ๒) ทำให้คนในองค์กรและผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ทำงานเน้นการสร้างความพึงพอใจสูงสุดกับลูกค้า Customer Satisfaction
ความผิดพลาดที่ 3
องค์กรไม่รู้ว่าใครคือ “คู่แข่ง” ที่สำคัญ และไม่รู้รายละเอียดของคู่แข่งเหล่านั้น โดยเฉพาะการเดินกลยุทธ์ของพวกเขา “คู่แข่ง”
แก้ไขโดย- เรียนรู้และเข้าใจ Competitors และ Competition เพื่อการสร้างกลยุทธ์ที่ดีในการแข่งขัน
ความผิดพลาดที่ 4
องค์กรไม่จัดการดูแล “ผู้มีส่วนได้เสีย” กับองค์กร
แก้ไขโดย-สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้เสียในระดับต่างๆ และ มีการทำเรื่องโปรแกรม Recognition หรือ Rewards
ความผิดพลาดที่ 5
องค์กรไม่สามารถค้นหาโอกาสใหม่ๆได้
แก้ไขโดย-พัฒนาระบบขึ้นมา เพื่อประเมินโอกาสใหม่ๆ แล้วจัดลำดับเพื่อหาโอกาสที่ดีที่สุด ตมสถานการณ์ในปัจจุบัน
ความผิดพลาดที่ 6
กระบวนการวางแผนขององค์กรไม่มีประสิทธิภาพ
แก้ไขโดย-ต้องมีการทำแผนการตลาดที่มีมุมมองหรือเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาว
ความผิดพลาดที่ 7
นโยบายด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ไม่รัดกุมเพียงพอ
แก้ไขโดย-มุ่งเน้นการใส่ใจไปที่สองส่วน คือ Marketing Mix และ Product Mix
ความผิดพลาดที่ 8
องค์กรด้อยในทักษะการสร้างแบรนด์และการสื่อสาร
แก้ไขโดย-เน้นสร้างแบรนด์ที่เข้มแข็ง โดยมุ่งการทำการส่งเสริมการตลาดและการขายที่คุ้มค่าการลงทุน และใช้เครื่องมือทางการสื่อสารเข้ามาช่วยเหลือ
ความผิดพลาดที่ 9
การจัดองค์กรไม่ดีพอที่จะทำให้การทำการตลาดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
แก้ไขโดย-เน้นไปที่เป้าหมายการเป็นผู้นำตลาด และมุ่งเน้นการสร้าง “Teamwork” ทั่วทั้งองค์กร
(สมัยใหม่จะมีการใช้คำว่า Engagement มากขึ้น)
องค์กรไม่ได้ใช้หรือไม่ได้นำมาใช้ในเรื่องเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์
แก้ไขโดย-เรียนรู้แนวโน้มของเทคโนโลยี และทำการจัดหาและ/หรือปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อการได้เปรียบในการแข่งขันอย่างสม่ำเสมอ
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น