วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554

The BOSS ตอนที่ ๔ – “ชี้แนะ” Coaching จากเจ้านายต่อลูกน้อง...ความสามารถพิเศษที่ฝึกได้



หนังสือ The BOSS บริหารคนอย่างเหนือชั้น
ไม่แน่ใจคนเขียนนะครับ แต่เขียนได้ดีครับ อ่านง่าย กระชับ นำไปใช้ได้เลย
แปลโดย อาจารย์ อดุลย์ รัตนมั่นเกษม
การเป็น “นาย” หรือ Boss นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายหรอกครับ
รับผิดชอบเยอะ ทั้งเรื่องงาน และ เรื่อง “คน”

The BOSS ตอนที่ ๔ – “ชี้แนะ” Coaching จากเจ้านายต่อลูกน้อง...ความสามารถพิเศษที่ฝึกได้
เป็นการช่วยเหลือลูกน้องให้สามารถใช้ศักยภาพที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ และสามารถสร้างผลงาน “เข้าตากรรมการ” เพื่อจะเติบโตขึ้นไปในระดับสูงขึ้นในองค์กร
โดยผู้เขียนได้สรุป “การชี้แนะแนวทางการทำงาน” ของเจ้านาย ไว้  หลายเรื่องด้วยกัน ได้แก่
1.   กำหนดเป้าหมาย
ถือเป็น “กฎข้อที่ ๑” ในการให้คำแนะนำชี้แนะเลยทีเดียว
ลูกน้องต้องเข้าใจเป้าหมายการทำงานอย่างชัดเจน

2.   มีบรรทัดฐาน
หากบรรทัดฐานสูงเกินไป ลูกน้องจะเครียดมากกว่าที่จะเป็นผลดี
ดังนั้น บรรทัดฐานจึงควรคำนึงหรือกำหนดตามความสามารถของลูกน้องแต่ละคนด้วย
เพื่อไม่ให้เกิดภาวะกดดันหรือเครียดมากเกินไป

3.   คำสั่งต้องชัดเจน
เจ้านายที่แนะนำหรือชี้แนะจะต้องให้คำพูดหรือเนื้อหาที่บอกไป ชัดเจน ไม่คลุมเครือ
คำที่คลุมเครือ ก็อย่างเช่น “อาจจะ” “บางที” เป็นต้น

4.   การมีส่วนร่วม(กับงานของลูกน้อง)
การให้คำชี้แนะขแงเจ้านายนั้น บางทีอาจจะต้องแสดงออกหรือเข้าไปมีส่วนร่วมบางส่วนของงาน
เพื่อให้ลูกน้องมีความเชื่อมั่นกับงานที่ทำว่าจะบรรลุความสำเร็จได้อย่างไม่ต้องสงสัย

5.   กระตุ้นให้ลูกน้องแสดงความคิดเห็น
ลูกน้องหลายคน มักเกรงใจเจ้านาย จึงไม่ค่อยสอบถามแม้จะสงสัย คือลองทำไปก่อนแล้วค่อยถาม
แต่ในการให้คำชี้แนะนั้น เจ้านายจะต้องกระตุ้นหรือถามลูกน้องถึงความเข้าใจหรือความชัดเจนในข้อตกลงในการทำงาน
อย่างน้อยก็เพื่อให้ลูกน้องทำงานได้อย่างเข้าใจ แจ่มแจ้ง ราบรื่นตลอดงานที่ได้รับมอบหมาย

6.   ยกตัวอย่างประกอบ
แน่นอนว่า การใช้แต่คำพูดหรือทฤษฎีล้วนๆกับลูกน้องนั้น ความเข้าใจอาจไม่แจ่มแจ้งทั้งหมด โดยเฉพาะความจริงที่ว่า ลูกน้องแต่ละคนมีระดับความเข้าใจหรือการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไป
การให้ตัวอย่างประกอบย่อมทำให้ความเข้าใจมีมากขึ้นกว่าเดิม
โอกาสที่ลูกน้องจะทำงานได้อย่างถูกต้อง ก็จะมีมากขึ้น

จริงแล้วมีอีกหลายข้อ แต่ขอยกเฉพาะที่น่าสนใจจริงๆมา 6 ข้อเท่านั้น
ลองปรับใช้ดูนะครับ เพื่อองค์กรจะได้ก้าวหน้าไปอย่างดียิ่งขึ้น และ นำพาความสำเร็จมาสู่ทุกคนในองค์กร ทำให้องค์กรดำเนินไปและเติบโตอย่างยั่งยืน.

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น