วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

Growing Great Employees (ตอนที่ 4 - ตอนจบ)...12 เรื่องสำคัญของการสร้าง “คนเก่ง”

Growing Great Employees (ตอนที่ 4 - ตอนจบ)...12 เรื่องสำคัญของการสร้าง “คนเก่ง”

จากความตอนที่แล้วได้กล่าวไปแล้ว 8 เรื่องด้วยกัน จาก เรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาและทำ 12 เรื่องใน “การสร้างคนเก่ง”


เรื่อง “การสร้างคนเก่ง” โดยการคิดว่า “ผู้สร้าง” หรือ หัวหน้างานนั้น ต้องทำตัวเสมือน “คนสวน” ในการปลูกพืชให้งอกงาม ออกดอกออกผล ซึ่ง Erika เขียนไว้ในหนังสือเล่มนี้ จากประสบการณ์ที่เป็นทั้งหัวหน้างาน และผ่านการเป็น coach ให้กับหลายองค์กร
ได้แก่
1.    Preparing the soil “เตรียมดิน”
2.    Plan before you plant “วางแผนก่อนปลูก”
3.    Picking your plants “เลือกเมล็ดพันธุ์”
4.    Not too deep and not too shallow “ฝังเมล็ดพันธุ์ไม่ลึกไป ไม่ตื้นไป”
5.    The gardener’s mind “วิธีคิดของคนเก่ง”
6.    A mixed bouquet “สิ่งที่แตกต่าง ความต้องการก็ต่างกัน”
7.    Staking and weeding “ดูแลรักษาอย่างดี”
8.    Letting it spread “ทำให้เกิดการขยายผลกว้างขวาง”

เรื่องต่อไปที่เหลืออีก 4 เรื่องแรก ได้แก่ …………………
9.   Plants into gardeners “สร้างหัวหน้างานรุ่นใหม่”
พนักงานบางคน “มีแวว” ที่จะเติบโตขึ้นเป็น “หัวหน้างานรุ่นต่อไป”ได้
ดังนั้น หัวหน้างานจึงต้องหาวิธีทำให้พนักงานคนที่มีแวว สร้างทักษะหรือความสามารถเพิ่มมากขึ้น เช่น ทักษะด้านการจัดการบริหารงานและการเป็นผู้นำ เป็นต้น
ซึ่งโดยแท้จริงแล้ว “ตัวหัวหน้างาน” นั่นเอง ที่เป็นแหล่งความรู้ที่จะถ่ายทอดไปสู่พนักงานที่มีแววจะเติบโต
เรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับ “การสอนงาน” Coaching skill ของหัวหน้างานนั่นเอง

10.                     How does your garden grow? “การเติบโตอย่างสวยงาม”
สวนสวยจะเกิดขึ้นได้ ต้องเกิดมาจาก “ความสมดุล” ระหว่างฝีมือและความตั้งใจของคนทำสวน และ ธรรมชาติที่เอื้อต่อการเติบโต
เหมือนกับ “การเติบโตของพนักงานในองค์กร” ก็ต้องอาศัยทั้ง ความพยายามของหัวหน้างานที่จะสอนงานและ “ความพยายามของพนักงานเอง” ในการที่จะพัฒนาตนเองให้พร้อมที่จะเติบโต

11.                     Some plants don’t make it! “ธรรมดา! บางครั้งก็จำเป็นต้องบอกลา.. จากกันด้วยดี”
บางครั้ง ในสวนก็จะพบว่า “พืชบางต้นก็ไม่สามารถโตได้” แม้จะใช้คนสวนที่มีทักษะหรือเก่งสักปานใด
เหมือนกับการจัดการงานบุคคลของหัวหน้างาน แม้จะตั้งใจสอนงาน พัฒนางาน และฝึกอบรมอย่างเต็มที่มากเท่าใด ก็คงมีพนักงานบางคนที่ไปไม่ได้ ผ่านไม่ได้ เติบโตต่อไปไม่ได้
จึงถือเป็น “ขั้นตอนที่ยากที่สุด” สำหรับระดับหัวหน้างานที่จะต้อง “บอกลาจากกัน” ด้วยดี
(บางคน หากให้อยู่ต่อกลับสร้างปัญหาอย่างมากมายตามมา..จำเป็นที่จะต้องมีการตัดสินใจในการเลิกจ้าง) ซึ่งก็มีกระบวนการที่ปฏิบัติในการเลิกจ้างอย่างเหมาะสมและเป็นธรรมกับพนักงานด้วย

12.                     The master gardener “ทำจริง จึงจะเป็นมืออาชีพ”
คนสวนจะเก่งได้ต้อง “ลงมือทำ” จริงๆ ต้องพบกับสภาพการทำสวนจริงๆว่า มีอุปสรรคอะไรบ้าง ต้องแก้ไขอย่างไร จะสร้างสวนให้เติบโตสวยงามได้อย่างไร
“เรียนจากการปฏิบัติ” คือ เรื่องจริงของชีวิต...
หัวหน้างานจึงต้องเรียนรู้ทั้งทฤษฎี และการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง เพื่อจะได้เป็น “หัวหน้างานที่เก่ง” สามารถสร้างองค์กรให้เติบโต สร้างพนักงานให้เติบโตไปกับองค์กรได้จริง
  

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

Growing Great Employees (ตอนที่ 3)...12 เรื่องสำคัญของการสร้าง “คนเก่ง”

Growing Great Employees (ตอนที่ 3)...12 เรื่องสำคัญของการสร้าง “คนเก่ง”

จากความตอนที่แล้วได้กล่าวถึง 4 เรื่องแรกจาก เรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาและทำ 12 เรื่องใน “การสร้างคนเก่ง”
เรื่อง “การสร้างคนเก่ง” โดยการคิดว่า “ผู้สร้าง” หรือ หัวหน้างานนั้น ต้องทำตัวเสมือน “คนสวน” ในการปลูกพืชให้งอกงาม ออกดอกออกผล ซึ่ง Erika เขียนไว้ในหนังสือเล่มนี้ จากประสบการณ์ที่เป็นทั้งหัวหน้างาน และผ่านการเป็น coach ให้กับหลายองค์กร
ได้แก่
1.   Preparing the soil “เตรียมดิน”
หลักเบื้องต้นของความสำเร็จในการจัดการ คือ “การฟัง”

2.   Plan before you plant “วางแผนก่อนปลูก”
 “การตั้งเป้าหมายที่เป็นรูปธรรม” หรือ “ความคาดหวังที่ต้องการ” ให้ชัดเจน
ทำให้สำเร็จได้ ต้องมี “ขั้นตอน” process ที่ชัดเจน

3.   Picking your plants “เลือกเมล็ดพันธุ์”
ขั้นตอนนี้เป็นการนำขั้นตอนที่หนึ่งและสองมาใช้ร่วมกัน
“คนทำสวนที่เก่ง ย่อมรู้ดีว่า เมล็ดไหนจะงอก และเมล็ดไหนโอกาสงอกน้อย”

4.   Not too deep and not too shallow “ฝังเมล็ดพันธุ์ไม่ลึกไป ไม่ตื้นไป”
 “ปลูกไม่ลึกเกินไป ไม่ตื้นเกินไป”... ต้อง “พอดี”!
“เร่งเกินไป เครื่องก็พังเร็ว เป็นธรรมดา!

เรื่องต่อไปที่ต่อเนื่องจาก 4 เรื่องแรกได้แก่ …………………
5.   The gardener’s mind “วิธีคิดของคนเก่ง”
คนทำสวนที่เก่งจะเชื่อมั่นในทักษะและประสบการณ์ของตนเองและเชื่อในธรรมชาติ เมื่อไรฝนจะตก แดดจะออก พืชจะงอกงาม
หัวหน้างานที่เก่งย่อมเข้าใจและเชื่อใน “ศักยภาพของคน” Potentials และรู้ว่าจะทำอย่างไรให้พนักงานเติบโตได้ในองค์กร
หัวหน้าที่เก่งจะทบทวนตนเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะเรื่องในใจหรือในความคิด Mind-set เพื่อที่จะมีแรงบวกอยู่ตลอดเวลาในการผลักดัน/ช่วยเหลือพนักงานให้ได้รับความสำเร็จ

6.   A mixed bouquet “สิ่งที่แตกต่าง ความต้องการก็ต่างกัน”
ไม่มีสิ่งเดียวกันที่สามารถทำให้ทุกสิ่งเหมือนกันได้หมด No one size fit all!
พืชแต่ละชนิดต้องการสิ่งที่ต่างกันในการเติบโตอย่างสมบูรณ์
พนักงานก็เช่นกัน...แต่ละคนต้องการสิ่งที่ต่างกัน เพื่อจะสามารถใช้ศักยภาพในการทำงานและเติบโตในองค์กร
หัวหน้างานที่เก่ง จะเข้าเรื่องนี้อย่างดี...ต้องใช้ทักษะหลายอย่างในการที่จะเข้าใจพนักงานและรู้ว่าจะสร้างแรงขับกับแต่ละคนอย่างไร จึงจะทำให้พนักงานทำงานได้สำเร็จและพวกเขาก็สามารถเติบโตในองค์กรได้ตามเป้าหมาย
และรวมไปถึงต้องรู้ว่า “อะไรที่จะไปบั่บทอนแรงขับเคลื่อนในการทำงาน” ด้วย ซึ่งก็คือ De-motivation นั่นเอง

7.   Staking and weeding “ดูแลรักษาอย่างดี”
คนสวนที่เก่งต้องสามารถดูแลพืชที่ปลูกให้โตไปตลอดรอดฝั่ง ไม่ตายระหว่างช่วงกลางการเติบโต
ต้องมีอุปกรณ์ต่างๆในการทำงานในช่วงการเติบโตของพืช เช่น ต้องกำจัดวัชพืช ต้องมีไม่ค้ำยันไม่ให้พืชล้ม เป็นต้น
หัวหน้างานที่เก่งก็เช่นกัน...
เขาต้องรู้ว่าจะทำอย่างไรให้พนักงานไปต่อไปอย่างถูกต้อง ผลงานออกมาได้ดี แก้ไขปัญหาของพนักงานได้
เครื่องมือที่ใช้หลักๆก็คือ “การให้ความคิดเห็นย้อนกลับFeedback both Positive and Corrective เพื่อให้พนักงานเข้าใจและดำเนินงานต้อเนื่องไปจนสำเร็จ

8.   Letting it spread “ทำให้เกิดการขยายผลกว้างขวาง”
สวนที่เติบโตอย่างอุดมสมบูรณ์ มักจะเกิดการขยายออกไปอย่างมากมาย มีการแตกหน่อใหม่ มีการเกิดต้นกล้าเพื่อนำไปปลูกในที่อื่นๆได้
เหมือนกับพนักงานบางคนที่มีความสามารถโดดเด่น...หัวหน้างานต้องเข้าใจและต้องส่งเสริมให้เขาเหล่านี้เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยการมอบหมายงาน Delegation
ซึ่งจะต้องมอบหมายงานด้วย “อำนาจเต็มที่และความรับผิดชอบในการบริหารงาน” เพื่อให้เขาแสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่ เพื่อเขาจะได้เติบโตขึ้นไปในระดับที่สูงขึ้น

ติดตามตอนสุดท้ายครั้งหน้า อีก 4 เรื่องครับ...............................................................
9.   Plants into gardeners
10.                     How does your garden grow?
11.                     Some plants don’t make it!
12.                     The master gardener
  
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

Growing Great Employees (ตอนที่ 2)...12 เรื่องสำคัญของการสร้าง “คนเก่ง”

Growing Great Employees (ตอนที่ 2)...12 เรื่องสำคัญของการสร้าง “คนเก่ง”

จากความตอนที่แล้ว ในเรื่อง “การสร้างคนเก่ง” ผ่านทางการคิดว่า “ผู้สร้าง” หรือ หัวหน้างานนั้น ต้องทำตัวเสมือน “คนสวน” ในการปลูกพืชให้งอกงาม ออกดอกออกผล
ซึ่งก็คือ... ทำให้พนักงานเก่ง มีความสามารถดีเยี่ยม และพร้อมจะเติบโตในองค์กร


โดย Erika ซึ่งเขียนหนังสือเล่มนี้ เป็นทั้งหัวหน้างาน และผ่านการเป็น coach ให้กับหลายองค์กร
ได้แบ่งหมวด หรือ เรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาและทำ ไว้ 12 เรื่องด้วยกัน ได้แก่
1.   Preparing the soil “เตรียมดิน”
หลักเบื้องต้นของความสำเร็จในการจัดการ คือ “การฟัง” (การฟังในที่นี้เปรียบเทียบกับ “ดิน”)
หากดินไม่ดี พืชไม่สามารถงอกขึ้นมาได้
ดังนั้น การสร้างบรรยากาศหรือสิ่งแวดล้อม จึงสำคัญมาก – เป็นเบื้องต้น
“การฟัง” คือตัวสร้างบรรยากาศที่ดีนั่นเอง
และที่สำคัญ “การฟัง” เป็นทักษะที่สร้างขึ้นมาได้
อีกเรื่อง คือ “การเข้าใจตนเอง” หรือ Self talk ก่อนที่จะสร้างคนสร้างงาน หัวหน้างานต้องตอบตัวเองได้ว่า เป้าหมายที่กำลังจะทำให้สำเร็จคืออะไร?
“เป้า” ต้องชัดเจนก่อนเสมอ!...

2.   Plan before you plant “วางแผนก่อนปลูก”
ประเด็นที่สองนี่จะสัมพันธ์กับ “การตั้งเป้าหมายที่เป็นรูปธรรม” หรือ “ความคาดหวังที่ต้องการ” ให้ชัดเจน
ตัวอย่างเช่น...
อะไรคือ “ความสามารถหลัก” (core competencies) ที่เราต้องการให้เกิดขึ้นในตัวพนักงาน
ซึ่งความสามารถหลักนี่เอง ที่จะส่งผลให้พนักงานเอง เติบโตได้ในองค์กร
เรื่องนี้จะทำให้สำเร็จได้ ต้องมี “ขั้นตอน” process ที่ชัดเจน
โดยเฉพาะการทำเรื่องนี้ ก่อนการรับคนเข้าทำงาน recruiting ยิ่งดี เพื่อจะการคนที่เหมาะสมกับงานนั้นๆมากที่สุดนั่นเอง

3.   Picking your plants “เลือกเมล็ดพันธุ์”
ขั้นตอนนี้เป็นการนำขั้นตอนที่หนึ่งและสองมาใช้ร่วมกัน
คือ เมื่อรู้ว่า “ความสามารถหลัก” ที่องค์กรต้องการคืออะไรแล้ว หัวหน้างานต้องใช้ “กระบวนการสรรหา” หรือ กระบวนการคัดเลือกพนักงานที่เหมาะสมกับความสามารถหลักที่ต้องการ โดยการใช้ “ทักษะการฟัง” และ วิธีการคัดเลือกอื่นๆ
“คนทำสวนที่เก่ง ย่อมรู้ดีว่า เมล็ดไหนจะงอก และเมล็ดไหนโอกาสงอกน้อย”

4.   Not too deep and not too shallow “ฝังเมล็ดพันธุ์ไม่ลึกไป ไม่ตื้นไป”
หลังจากการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ดีได้แล้ว
ขั้นตอนต่อไปคือ “การปลูกลงดิน” ซึ่งต้องมั่นใจว่า...
“ปลูกไม่ลึกเกินไป ไม่ตื้นเกินไป”... ต้อง “พอดี”!
หัวหน้างานต้องรู้ว่า การให้งานที่มากเกินไปหรือตั้งความคาดหวังที่ไม่สมเหตุสมผลหรือเป็นไปได้ยากนั้น จะส่งผลให้พนักงานอึดอัด และเหนื่อยเกินไป
ตรงนี้คือ “ปลูกเมล็ดพันธุ์ ลึกเกินไป” นั่นเอง
“เร่งเกินไป เครื่องก็พังเร็ว เป็นธรรมดา!

(ติดตามตอนต่อไปครั้งหน้าครับ)
5.    The gardener’s mind
6.    A mixed bouquet
7.    Staking and weeding
8.    Letting it spread
9.    Plants into gardeners
10.                      How does your garden grow?
11.                      Some plants don’t make it!
12.                      The master gardener
  

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

สร้างพนักงานให้ "เก่ง" - growing Great Employees (ตอนที่ 1)



หนังสือเล่มนี้มองว่า หัวหน้างาน หรือ ผู้จัดการ นั้นเปรียบเสมือน "คนทำสวน"
ผู้เขียนได้ใช้ "หลักการทำสวน" เสมือน การสร้าง "พนักงาน" ในองค์กร

ทำอย่างไรจะปลูกพืชให้โตขึ้นได้ ให้ออกดอกออกผลได้ตามต้องการ
ทำอย่างไร "หัวหน้างาน" จะสร้างพนักงานในองค์กร "ให้ทำงานเก่ง" และ "เติบโต" สูงขึ้นในองค์กร
จนอาจจะก้าวมาเป็น "หัวหน้าคนเก่ง" อีกคนขององค์กร

Erika ผู้เขียนเองก็มีประสบการณ์เยอะมากในการเป็นหัวหน้างานและเป็นที่ปรึกษาของหัวหน้างาน
จึงได้คิดมุมมองใหม่ในแบบ "การปลูกพืชในสวน" มาปรับใช้กับการบริหารงานองค์กร
โดยเฉพาะการจัดการด้านบุคคลากร HRM หรือ HRD
น่าสนใจมากครับ...

แนวคิดสำคัญของหนังสือเล่มนี้ ได้แก่

๑. สิ่งสำคัญที่สุด ที่จะทำให้พนักงานอยากจะทำงานกับองค์กร คือ การจัดหา "หัวหน้างานที่มีทักษะ" (หรือ เก่งนั่นเอง) ให้กับพวกเขา

๒. โลกเปลี่ยนไป ความไม่แน่นอนมีมากขึ้น ดังเช่น พนักงานในองค์กรก็เช่นกัน พวกเขามีความต้องการหรือความคาดหวัง ที่มากขึ้นกว่าในอดีตอย่างมาก

๓. วิธีการจัดการที่ดี สามารถเรียนรู้ได้ (ก็คือ การจัดการเป็น "ทักษะ" ที่สร้างได้นั่นเอง)

๔. หากไปถามคนในระดับหัวหน้างานขึ้นไป ว่าอะไรคือสิ่งที่ยากต่อการทำให้งานสำเร็จ...
จะพบว่า 9 ใน 10 คนจะตอบว่า "ปัญหาเรื่องคน"
ส่วนคนที่ 10 นั้น จะตอบอย่างอื่น (เพราะแกพึ่งเข้ามาทำงานได้แค่สองสัปดาห์เอง)
...อันนี้เป้นตลกแบบฝรั่งครับ...คนไทยอาจไม่ขำ!


Erika ได้แบ่งหมวดคำแนะนำไว้ 12 หมวดด้วยกัน (ติดตามตอนต่อไปครับ)

อ๋อ ขอรับ

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

คุณจะว่าไง จะบอกเจ้านายหรือเปล่า...หากเพื่อนคุณทำงานเหลวไหล ?


คุณจะว่าไง จะบอกเจ้านายหรือเปล่า...หากเพื่อนคุณทำงานเหลวไหล ?

นี่เป็นสถิติที่น่าสนใจนะครับ
จากหนังสือพิมพ์ USA TODAY - 21 Sep '11

58% ตอบว่า ไม่รายงาน..แต่จะช่วยเพื่อน
27% ตอบว่า รายงานแน่ เพราะหากรายงานแล้วทำให้ทีมภาพรวมดีขึ้น
11% ตอบว่า ไม่รายงาน หากเจ้านายไม่ได้ถาม (ไม่ใช่เรื่องของฉัน) 
4% ตอบว่า รายงานแน่ หากการรายงานทำให้ฉันได้ดีขึ้น

ผมลองประเมินเทียบกับของเมืองไทยแล้ว
ก็น่าจะคล้ายๆกันครับ

คุณคิดว่า..อันไหนแย่สุดครับ
ส่วนตัวผมว่า...อันสุดท้าย

คือ...
ไม่รักเพื่อน แล้วยังจะเอาประโยชน์จากเพื่อนอีก
อย่างที่โบราณว่า...
"โตแบบเหยียบหัวคนอื่นๆขึ้นไป"

...

อ๋อ ครับผม



วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

Behind the image - มองให้ถึงเนื้อใน "ใจคน อยากแท้หยั่งถึง"

Behind the image - มองให้ถึงเนื้อใน "ใจคน อยากแท้หยั่งถึง"

การประเมินคนเพียงแรกเห็น...
นับว่า.."ไม่ยุติธรรม" กับคนที่ถูกประเมินเท่าใดนัก
ที่สำคัญคือ...
อาจเป็นสิ่งที่ "เลวร้าย" มากกว่าที่คิด..
เพราะเมื่อเราประเมินคนอื่นแบบนั้นแบบนี้...
เราก็จะมีปฏิสัมพันธ์กับคนๆนั้น ตามแบบที่เราประเมิน (ซึ่งอาจไม่จริง)



เหตุเพราะ...
คนทุกคน...กว่าจะโตขึ้นมา...
เราก็ได้เรียนรู้อะไรต่างๆมากมายในชีวิต..
มีการปรับสิ่งต่างๆ "เปลี่ยนไปทุกวันๆ" ...
ในแต่ละวันชีวิตของเราจะเปลี่ยนไป..
เทียบได้กับชีวิตของเราเองมี "หน้ากาก" ใส่อยู่เสมอ
ซึ่งจะปิดบังซ่อนเร้นอะไรบางอย่างในความเป็น "ตัวตน" ของเรา

วิธีที่ดีที่สุด...
คือการอย่าด่วนสรุปใครก็ตาม...
จนกว่าเราจะได้ลองปฏิสัมพันธ์กับเขาคนนั้น...สักระยะ

แล้วเราจะไม่พลาดในการคิด และ การกระทำ ต่อคนอื่นๆ
ชีวิตก็จะมีสุขได้เสมอ...แม้ต่อตัวเองหรือร่วมกันกับผู้อื่นในสังคม

อ๋อ ครับผม

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

ทำงาน ทนงาน อย่าทิ้งงาน

ทำงาน ทนงาน อย่าทิ้งงาน

๓ คำนี้สำคัญมาก ต่อคนทุกคน
เพราะชีวิตทุกคน เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องทำงาน
ไม่รูปแบบใด..ก็รูปแบบหนึ่ง...
เหมือน และ ต่างกันไป




"ทำงาน"

คือ การทำอย่างมีเป้าหมาย แบบแผน และหวังผล
เพื่อให้งานเป็น "งานที่แท้จริง"
ซึ่งก็คือ "เกิดผลลัพธ์" ตามที่คาดหวัง
...

"ทนงาน"

คำนี้ ได้มาจากหนังสือของอาจารย์วศิน
คือวิธีที่จะทำงานให้แล้วเสร็จ อย่างเกิดผลลัพธ์ดังกล่าวข้างบน
เราต้องมีความอดทนในการทำงาน...อย่างเพียงพอ
ที่จะทำให้งานเสร็จสิ้นตามประสงค์
อาจารย์แนะนำว่า...
ทนงาน คือ การทำงานอย่าให้เหนื่อย..ให้หยุดก่อนที่จะเหนื่อย
แล้วเราจะไม่เหนื่อย...จะสามารถทนทำงานได้ยาวนานกว่าคนอื่นๆ
น่าสนใจเอาไปลองปฏิบัติดู
...

"อย่าทิ้งงาน"

อันนี้ผมคิดต่อยอดอาจารย์วศินเองว่า...แล้วหากเราไม่สามารถเลือกได้ล่ะ
ว่าจะหยุดพักก่อนเหนื่อย..จะทำไงดี?
มีงานตั้งหลายประเภทที่เราหยุดพักตามใจของเราไม่ได้
ผมคิดว่า..เราต้องไม่เป็นคน "ทิ้งงาน"
ต้องตั้งเกณฑ์นี้ไว้ในใจตลอดเวลา
แม้จะเหนื่อย...แต่หากเราเป็นคนที่มี "ความรับผิดชอบ - ไม่ทิ้งงาน"
งานก็จะเสร็จตามเป้าประสงค์ที่วางไว้
...

ขอบคุณครับ
อ๋อ

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

การอดทนต่อ "สิ่งที่น่าพอใจ" - นี่ยากยิ่งกว่า!


...

ชีวิตมนุษย์...มีทุกข์และสุข..ปะปน
เราเองต้องเลือกที่จะ "ยอมรับ" หรือ "ต่อต้าน"

โดยธรรมดาแล้ว..เมือ่เกิดทุกข์ เรามักต่อต้าน
แต่เมื่อเกิดสุข เรามักจะยอมรับ..ได้อย่างง่ายดาย
บางครั้งแทบไม่รู้ตัวด้วยซ้ำไป

"การอดทน" ต่อความทุกข์นั้น
ว่าไปก็ยากพอดู
บทความหนึ่งของอาจารย์วศิน
พูดถึงเรื่อง "ความอดทนต่อสิ่งที่น่าพอใจ"
ฟังดูแล้วน่าคิดดีเหลือเกิน

การอดทนต่อความทุกข์
ความล้มเหลว ความไม่สมปรารถนา
แม้แต่คนอ่อนแอก็พอทำได้
เพราะ "จำเป็น" ต้องอดทน
แต่...การอดทนต่อสุข ความสมปรารถนา
ความสำเร็จ
โดยวางตัวอย่างอุเบกขานั้น
ยากกว่า
คนที่ใจเข็มแข็งเท่านั้น
จึงจะรู้ทันและอดทนได้
....

ขอบคุณครับ
อ๋อ

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

อะไรที่ฉุดเราไว้ ไม่ให้ก้าวหน้า..สำรวจตนเอง คือ จุดเริ่มของ "ความสำเร็จ" ในทุกเรื่อง...

อะไรที่ฉุดเราไว้ ไม่ให้ก้าวหน้า..สำรวจตนเอง คือ จุดเริ่มของ "ความสำเร็จ" ในทุกเรื่อง...

3 สิ่งสำคัญ ที่เป็น "หินถ่วง" ชีวิตของทุกคน ทำให้เดินต่อไปไม่ได้ คือ...

๑. ความกลัว
๒. ความคับข้องใจ
๓. ความล้มเหลว




๑. ความกลัว

ทุกคนมี "ความกลัว" เป็นพื้นฐานชีวิตมนุษย์อยู่แล้ว...ถือเป็นทุนเดิม
แต่คนที่ประสบความสำเร็จ คือ.. คนที่แปลงความกลัว เป็น "การกระทำ"

ดังคำกล่าวที่คสาสสิคที่ว่า "ในอุปสรรค ย่อมมีโอกาสซ่อนอยู่เสมอ"

เทคนิคง่ายๆอันหนึ่ง คือ...
แปลงงานชิ้นใหญ่ เป็น "งานชิ้นย่อยๆ"
แล้วทำทีละส่วน เพื่อสร้างความสำเร็จเริ่มต้น ไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในที่สุด


๒. ความคับข้องใจ

"ผมไม่มีทักษะ"
เทคนิค คือ..
ไปฝึกฝนอบรมสิครับ
หาประสบการณ์จากงานที่ทำนั่นแหล่ะ...สุดยอด!

"ดิฉันไม่มีอำนาจตัดสินใจ"
ข้อคิด "อำนาจที่แท้จริง" มาจาก...ความสำเร็จที่ผ่านมาที่คนอื่นๆสัมผัสได้ และ การมีอิทธิพลต่อคนอื่นๆผ่านมาทางความน่าเชื่อถือและเชื่อมั่นในตัวคุณเอง (มากกว่าที่จะมาจากอำนาจตามตำแหน่ง)

"เราไม่ได้รับการสนับสนุนเลย!"
เทคนิค คือ...
จงแสดงให้เห็นว่า "ดิฉันทำได้" เช่น มีความคิดดีๆออกมาคุย  มีความคิดริเริ่มในการทำสิ่งต่างๆ
จงหาการสนับสนุนจากคนอื่นๆก่อน


๓. ความล้มเหลว
ข้อคิด...ไม่มีสิ่งได้หรือคนใดสำเร็จอยู่ตลอดเวลา...
ความล้มเหลวเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ เป็นเรื่องปรกติ...
คนที่สำเร็จและยิ่งใหญ่ ทุกคนเคยผ่านความล้มเหลวมาทั้งนั้น...บางคนมีปัญหาชีวิตด้วยซำไป

เทคนิค คือ...
ประเมินความเสี่ยงและหาวิธีเตรียมตัวป้องกันให้ได้มากที่สุด
แม้จะเกิดความผิดพลาดหรือล้มเหลว..จงตั้งสติ แล้วเรียนรู้กับมัน...
บอกกับตัวเองว่า "ครั้งหน้า ไม่มีทางล้มเหลวอีกแน่นอน ต้องสำเร็จ"...


อ๋อ ขอรับ

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

อ่านหนังสือดี เหมือนมีครูบาอาจารย์อยู่ใกล้


ข้อคิดดีๆ จาก อาจารย์วศิน อินทรสระ

"อ่านหนังสือดี เหมือนมีครูบาอาจารย์อยู่ใกล้"

ยิ่งคนเราโตมากขึ้นเท่าไร...
มักจะไม่ฟังใคร...
จึงหาคนคอยเตือนตัวเราเองได้ยากมากขึ้น
(ตามอัตตาที่เพิ่มขึ้นตามอายุ)

หลายคนอาศัยเทคนิคบางอย่าง...
บางคนอ่านหนังสือดีๆหลายๆเล่ม...
ใช้หนังสือเป็น "ครู" คอยเตือนตนเอง...
นักปราชญ์ที่เขียนหนังสือ...ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้มาเป็นตัวอักษร
เราจึงสามารถใช้วิธีนี้ได้เช่นกัน..ในการเตือนตนเอง

ผมเองก็ใช้วิธีนี้อยู่...
และยืนยันว่า.."ได้ผลดียิ่ง"...


อ๋อ ขอรับ