วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

“เป้าหมาย” การบริหารงานภาครัฐในสังคม “ประชาธิปไตย” Good Governance



“เป้าหมาย” การบริหารงานภาครัฐในสังคม “ประชาธิปไตย” Good Governance
by Gloria Macapagal-Arroyo

1.    ดูแลประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน
2.    ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว
3.    ทำงานเพื่อมุ่งการช่วยเหลือ มิใช่ขัดขวาง
4.    ปกป้องสังคมและพลเมือง
5.    มีนโยบายอย่างต่อเนื่อง และการเปลี่ยนแปลงจะทำเพื่อให้เกิดการปรับปรุงเป็นหลัก
6.    ใช้กฎหมายเท่าที่จำเป็นต่อการรักษาสังคมให้อยู่ได้

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Visible Leadership - Sir Richard Evans


ผู้นำ
เป็นทั้งคนที่ต้องนำ และ ต้องรับรู้-รับฟัง

ดังนั้น...
ผู้นำ ต้องพร้อมที่จะ "พบ" ได้เสมอ
และ อาจจะต้องตลอดเวลา(ด้วยซ้ำไป)

องค์กรยิ่งมีขนาดใหญ่...
ผู้นำต้อง "จัดเวลา" ให้ดี
เพื่อให้เกิดภาพของการเข้าถึงได้ง่าย หรือ "พบได้ง่าย"

หากผู้นำ ต้องการให้ "การนำได้รับความสำเร็จ" แล้วล่ะก็...
คุณต้องพร้อมที่จะให้ "พบได้เสมอ"

...

Visible Leadership - Sir Richard Evans - Chairman of United Utilities
...

อ๋อ ครับผม

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ผู้นำที่แท้ ไม่ได้เกิดมาจาก "ความนิยมชมชอบ" Leadership is not a Popularity contest - Sanjiv Ahuja


ความเป็นผู้นำ ไม่ได้เกิดมาจาก "ความนิยมชมชอบ" (Popular)
ที่ให้พนักงานลงคะแนนโหวตกัน

ไม่ได้เกิดจากการเลือกที่จะบริหารแบบ "ประชาธิปไตย"
ที่ต้องให้พนักงานมาเสนอความคิดความเห็น
หรือเลือกกันว่า...
"คนคนนี้ มีความเป็นผู้นำหรือไม่?"

เมื่อ "คนที่เป็นผู้นำ" ตัดสินใจ...
แน่นอนว่า..ไม่ได้ถูกใจใครทุกคน
ไม่ได้เป็นไปตามความต้องการของทุกๆคนในองค์กร

ผู้ที่เข้าใจ คำว่า "ผู้นำที่แท้จริง"...
ย่อมรู้และเข้าใจว่า..การตัดสินใจของผู้นำนั้น...
ไม่ได้ "โดนใจ" ใครทุกคนอย่างแน่นอน

และแน่นอนว่า...
บางครั้ง..การตัดสินใจของผู้นำอาจจะไม่ถูกต้อง
หรือ ไม่สำเร็จตามคาดหวัง
แต่...เมื่อเป็น "ผู้นำ" แล้ว
ก็ต้องเข้าใจอย่างแท้จริงในบทบาทตนเอง
และต้องกล้าหาญที่จะนำแบบนั้น

"อย่ากลัว และ อย่าสบสัน" ระหว่าง...
"ความนิยมชมชอบ" กับ "ทางเลือกที่ถูกต้อง"

...

จากบท Leadership is not a Popularity contest 
โดย Sanjiv Ahuja - Chief Executive of Orange Group

...
อ๋อ ครับผม

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ยาระงับสรรพโรค – ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ


ยาระงับสรรพโรค – ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ

โรคมี ๒ ชนิด คือ..
โรคทางกาย และ โรคทางจิต

แต่ท่านอาจารย์ แยก โรคทางจิตออกเป็น ๒ ส่วน ได้แก่...
โรคทางจิตประสาท และ “โรคทางสติปัญญา หรือ โรคทางวิญญาณ”

โรคทางจิตวิญญาณนั้น สำคัญ และเป็นกันมาก ซึ่งพระอาจารย์ได้ใช้คำว่า “สรรพโรค” ก็ด้วยเหตุนี้
และ โรคทางจิตวิญญาณนี้ ต้องรักษาด้วย “ธรรมะ” ของพระพุทธเจ้านั่นเอง

ตัวอย่างของ “โรคทางจิตวิญญาณ” ได้แก่...
ความรัก
ความเกลียด
ความกลัว
ความตื่นเต้น
ความวิตกกังวลอาลัยอาวรณ์
ความอิจฉาริษยา
ความหวง/ความหึง
ความยึดมั่น
ความสงสัย

ยาแก้โรคทางวิญญาณ ทั้ง ๗ อย่าง ได้แก่...
๑.     เปลือก ไม่รู้ไม่ชี้
๒.     แก่น ช่างหัวมัน
๓.    ราก อย่างนั้นเอง
๔.     ใบ ไม่มีตัวกู-ของกู
๕.     ดอก ไม่น่าเอาไม่น่าเป็น
๖.     ลูก ตายก่อนตาย
๗.    เมล็ด ดับไม่เหลือ

กำกับด้วย “คาถา” สำคัญ...
“สัพเพ ธัมมานาลัง อภินิเวสายะ”
แปลได้ว่า...
“สิ่งทั้งหลายทั้งปวงหรือธรรมทั้งปวงอันใครๆไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวตนหรือของตน”

...สาธุ สาธุ สาธุ !!!

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การอยู่ร่วมกันของเหตุผลและอารมณ์ – “โลก 10 สิ่ง” ของ พระอาจารย์ นิชิเร็น ไดโชเน็น

การอยู่ร่วมกันของเหตุผลและอารมณ์ – “โลก 10 สิ่ง” ของ พระอาจารย์ นิชิเร็น ไดโชเน็น


มนุษย์มักมีสองด้าน ระหว่าง เหตุผล กับ อารมณ์ ซึ่งมักไม่ค่อยจะไปทางเดียวกันนัก
พระนักวิชาการที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น “อาจารย์ นิชิเร็น ไดโชเน็น” ได้แสดงถึงหลักเรื่องหนึ่งจาก “พุทธศาสนา” คือเรื่อง “โลก 10 สิ่ง” อันได้แก่
(ไม่แน่ใจว่าอยู่เฉพาะในมหายานหรือไม่ เอาเป็นว่าเราเอา “แก่น” หรือ “ประเด็นสำคัญ” ไปปรับใช้แล้วกันนะครับ)
๑.     นรก หรือ ความรู้สึกแย่ๆ
เมื่อมีเรื่องร้ายๆเกิดขึ้น เราเกิดความขุ่นเคืองใจ อารมณ์ไม่ดี กังวล กลัว เศร้า ทุกข์

๒.     ความโลภ (บางทีใช้คำว่า “ความหิว”)
ถูกครอบงำด้วยความอยาก ตัณหา

๓.    สัญชาตญาณ
เป็นความอยากที่มีมาแต่เดิม ตามธรรมชาติ เช่น ความต้องการอาหาร ความต้องการทางเพศ

๔.     ความโกรธ
ควบคุมสติไม่อยู่ หงุดหงิด อารมณ์เสีย โกรธ

๕.     ความสงบเย็น
เป็นสภาวะแห่งสันติสุข

๖.     ความปลาบปลื้ม
ความดีใจ ความสุขสันต์ ที่เกิดขึ้นแล้วก็จะหายไป

๗.    การเรียนรู้
เป็นทักษะที่ทำเพื่อการรับรู้ การฝึกฝน การใช้เหตุผล

๘.     การตระหนักรู้
การค้นพบ การสร้างสรรค์ การคิด การเชื่องโยง

๙.     การช่วยเหลือ
เป็นสภาวะที่จิตเป็นผู้ให้ ในด้านที่เป็นกุศล ไม่ต้องการสิ่งตอบแทน

๑๐.การรู้ตื่น
ประเด็นนี้ไม่ใช่การมีสติแบบ 9 อย่างข้างต้น เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นสติชั่วครู่ อาจมีมากมีน้อยตามแต่สภาพที่เกิดขึ้นของสติ
แต่ข้อสิบ “การรู้ตื่น” นี้ คือ สภาวะที่ไม่หวั่นไหวต่อความทุกข์ เป็นสภาวะที่ทางพุทธศาสนาต้องการให้เป็นเป้าหมายของชีวิตนั่นเอง

สิ่งทั้ง 10 นี้ จะเกิดขึ้นกับชีวิตของมนุษย์สลับกันไปมาหรือเกิดพร้อมๆกันก็ได้
แล้วแต่ว่าชีวิตขิงเราไปประสบกับสภาวะไหนบ้าง? ต่อเนื่องกันอย่างไร?
ลองสังเกตดูว่า...ณ ขณะนี้ เรามีสภาวะไหนเกิดขึ้นบ้าง...เรียนรู้และปรับใช้ดูครับ

หากจะอ่านภาษาไทยเพิ่มเติม อ่านได้จากฉบับแปลของอาจารย์ สุรพงษ์ สุวจิตตานนท์ หนังสือชื่อ “ชีวิตนี้มีคำถาม”...

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วิธีรับมือกับความทุกข์ 5 แบบ - จะเลือกแบบไหนดี ?

จะทำอย่างไรกับความทุกข์ดีนะ?
มีหลายวิธีที่จะจัดการ “ความทุกข์” ที่เรากำลังเผชิญอยู่


 
หนังสือเล่มนี้ The Big Questions ของ Lou Marinoff
ได้กล่าวไว้ถึง...วิธีรับมือกับความทุกข์ ได้แก่
๑.    แบกรับมันเอาไว้เองกับตัวเรา
คล้ายๆกับการ “เก็บกด” ความทุกข์เอาไว้
มันอาจจะดูดี...แต่ตัวเราจะรู้สึก “แย่”
หากมันกลายเป็น “ความเชื่อ” ของเราว่าวิธีนี้ดี..จะกลับยิ่งแย่ไปใหญ่
เพราะมันจะส่งผลยาวนานในชีวิต

๒.   หลีกหนีมันไปไกลๆ
มันอาจจะทำให้รู้สึกว่าเป็นวิธีที่ดี.. “ดูดี”
เหมือนเป็น “คนดี” คือไม่โต้ตอบ แต่ยอมให้กับมัน แล้วหลีกเลี่ยงออกไปจากมัน
มักพบว่า มันอาจจะไม่ได้รู้สึกดีขึ้นแต่อย่างใด กลับอาจจะทำให้ทุกข์มากเข้าไปอีก
อาจจะเป็นเพียงการ “พักความทุกข์” ไว้เพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น
หากเราเป็นต้นเหตุของความทุกข์แล้ว อาจจะต้องเลือกที่จะเผชิญกับมัน

๓.   โยนความทุกข์ออกไปยังผู้อื่น
วิธีนี้ไม่ได้ช่วยอะไรเลย กลับทำให้มีทุกข์มากขึ้น ทั้งตัวเราเอง และ ผู้อื่น(ในโลกใบเดียวกันนี้)
เป็นการส่งผลกระทบที่กว้างมากขึ้นเสียด้วยซ้ำ
เหมือนเป็น “ทุกข์ซ้ำซ้อน” มากขึ้นไปอีก

๔.    ทำให้ความทุกข์มันสิ้นสุดลงที่ตัวเราเอง
ดูจะเป็นเรื่องไม่ง่ายนักที่จะทำแบบนี้ แต่ก็อาจจะเป็นวิธีที่ดี
โดยสิ่งแรกที่ต้องทำคือ ต้อง “ยอมรับ” ว่าทุกข์ที่เกิดขึ้น เป็นของเราเอง เสียก่อน
ในระยะยาว สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ การโยนมันออกไปจากตัวเราอยู่ดี

๕.    เปลี่ยนความทุกข์ไปเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ (“เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส”)
วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุด (หากทำได้)
คือ การเปลี่ยนสิ่งที่รู้สึกเป็นทุกข์ ไปสู่สิ่งที่มีประโยชน์
การดับทุกข์ลงที่ตัวเรา ก็ถือว่าดี แต่จะเป็นประโยชน์กับเราคนเดียว
ส่วนวิธีนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อื่นด้วย
ถือเป็นเป้าหมายที่ดีของชีวิตที่น่าสนใจในการดำเนินชีวิตเพื่อผู้อื่น
แม้เราอาจจะยังไม้หมดทุกข์ แต่การช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ ก็จะมีผลต่อการทำให้ทุกข์ของเราคลายลงไปได้ด้วย

ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงที่สุด
อ๋อ ขอรับ

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Using Feedback to Become a More Effective Leader - Erroll Davis Jr: Former Chairman


เมื่อเป็น "ผู้นำ"...
สิ่งที่ต้องทำให้ได้คือ..มี "ผู้ตาม"

ผู้ตามต้องตามด้วยความเต็มใจ
หรือ อย่างน้อยก็ต้องตามเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย

หลายๆสถานการณ์.."การให้คนอื่นตาม" นั้นยาก
เช่น การเข้ามารับงานใหม่ๆของ "ผู้นำคนใหม่"...
เป็นต้น

มีคำแนะนำจากผู้เขียนเรื่องนี้ว่า..
ผู้นำต้อง "มองตนเอง" ว่า...
เราเองสามารถ "ยืดหยุ่นได้" และ "ปรับตัวได้ดี"
โดยเฉพาะเรื่อง "รับฟังความคิดความเห็นของผู้อื่น"

เวลาพูดคุยกับผู้ตาม...
ผู้นำควรสอบถาม "ความคิดความเห็นต่อตัวผู้นำ"
อยู่เสมอ
เพื่อประโยชน์ คือ...

๑) จะได้อธิบายให้ผู้ตามรู้ว่า..
"ทำไมเราจึงตัดสินใจอย่างนั้น"
"ทำไมเราจึงทำอย่างนั้น"

๒) การนำเอาข้อดีจากความคิดความเห็นเหล่านั้น
มาปรับปรุงตนเอง
เพื่อให้กลายเป็น "ผู้นำที่ทรงประสิทธิภาพสูง"
Effective Leader

...

By Erroll Davis Jr: Former Chairman of Alliant Energy Corporation

...
เรียบเรียง โดย อ๋อ ครับผม


วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

นิทานเต่ากับปลา จาก "อาหารของดวงใจ" - ท่านพระอาจารย์ พุทธทาสภิกขุ

...
...
อยากจะเล่านิทาน ฟังกันเล่น สักหน่อยหนึ่ง
เต่าตัวหนึ่ง เป็นสหาย กับ ปลาตัวหนึ่ง
วันหนึ่งได้พบกัน ปลาถามว่า
"สหายเอ๋ย, ท่านไปที่ไหนเสียเป็นนาน?"
"ไปเที่ยวบนบกมา" เต่าตอบ
"บกเป็นอย่างไร?" ปลาถาม
"อ๋อ บกงดงามมาก มีอะไรสวยๆ แปลกๆ ลมพัดเย็นสบาย มีอาหารดีเยอะ
มีเสียงแปลกๆ ซึ่งเราไม่เคยได้ยิน ในที่นี้เลย"
"ฉันไม่เข้าใจเลย สหายเอ๋ย บกนั้น อ่อนละมุน ให้ศรีษะของเราแหวกว่าย
ไปได้สะดวกเช่นนี้หรือ?"
"ไม่ใช่"
"บกไหลเอ่อไปได้ตามร่อง เช่นนี้หรือ?"
"ไม่ใช่"
"บกเย็นชุ่ม ซึมซาบ เอิบอาบ เช่นนี้หรือ ?"
"ไม่ใช่"
"บกเป็นละลอก ริ้วๆ เมื่อถูกลมพัดหรือ ?"
"ไม่ใช่"


แม้ปลาจะตั้งคำถามมาอย่างไร คำตอบก็มีแต่ "ไม่ใช่" ทั้งนั้น ในที่สุด
ปลาก็หมดศรัทธา ประณามเต่าว่า "สหายเอ๋ย ท่านโกหกเสียแล้ว เอาสิ่งที่ไม่มีจริง เป็นจริง มากล่าว"

แต่เต่าก็ ไม่รู้ที่จะตอบ สหายของตน อย่างไรดี
ในที่สุด ก็ได้แต่ ค่อยคลาน กลับขึ้นบกอีก

เต่าได้เที่ยว ไปบนบก อีกใหม่,
บนบก ซึ่งสหายของเขา ไม่เคยนึก และ ไม่ยอมเชื่อว่ามี !
เต่าได้เที่ยวไปวันแล้ววันเล่าๆบนบก ซึ่ง สหายของเขา หาว่า เขาโกหก !!
....
....

จาก บทความเรื่อง "อาหารของดวงใจ"
โดย ท่านพระอาจารย์ พุทธทาสภิกขุ

รายละเอียดใน http://www.buddhadasa.com/shortbook/mindfood.html

ผู้ปกคครองที่ดี ควรเว้น "อคติ 4"


นักปกครอง เมื่อปฏิบัติหน้าที่แล้ว พึงเว้นความลำเอียงหรือความประพฤติที่คลาดเคลื่อนจากธรรม 4 ประการ
หรือ อคติ 4 ได้แก่
1.      ฉันทาคติ ลำเอียงเพราชอบ
2.      โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง
3.      โมหาคติ ลำเอียงเพราะหลง
4.      ภยาคติ ลำเอียงเพราะ(ขลาด)กลัว

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สาเหตุใหญ่ของ "ความล้มเหลวในชีวิต"


สาเหตุใหญ่ของ "ความล้มเหลวในชีวิต"

เขียนโดย นโปเลียน ฮิลล์ (ที่คนส่วนใหญ่รู้จักชื่อเสียงเขาดี)
แปลโดย นิลวรรณ-เกียรติสุดา

ครั้งที่แล้วเขียนถึง "หลักเก้า" ประการ หรือ ปัจจัยที่ทำให้ชีวิตเราพบความสำเร็จ
ครั้งนี้ ก็เลือกมา "เก้าประการ" ที่เป็นประเด็นในการสร้าง "ความล้มเหลว" ในชีวิต
(จากทั้งสิ้นที่นโปเลียนเขียนไว้ 54 ประการ)

๑. ขาดเป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่แน่นอนในชีวิต
๒. ไม่ได้รับการศึกษาทีเพียงพอ
๓. ขาดวินัยในตนเอง (ทำให้เสียเวลาไปทำเรื่องไม่เป็นเรื่อง)
๔. ทัศนคติเชิงลบ เป็นนิสัย
๕. ขาดความมั่นใจในตนเอง ที่เพียงพอต่อการบรรลุเป้าหมาย
๖. นิสัยที่หลีกหนีจากสถานการณ์ยุ่งยาก แทนที่จะพยายามเอาชนะมัน
๗. ทิฐิ เชื่อมั่นตนเองเกินไป หรือควบคุมมันไม่ได้
๘. สมาคมที่ผิดพลาด หรือล้มเหลวในการร่วมทำงานกับคนอื่นๆ
๙. เจตนาไม่ซื่อสัตย์ (ขาดคุณธรรม)

จริงๆแล้วยังมีข้อที่เหลืออีกหลายข้อที่เป็นประเด็นสำคัญต่อความล้มเหลว
เก้าข้อนี้ เลือกมาที่สำคัญจริงๆและพบเห็นได้ในสังคมแบบบ้านเราครับ

...
อ๋อ ครับผม

"หลักเก้า" เพื่อความก้าวหน้า และประสบผลสำเร็จ



"หลักเก้า" เพื่อความก้าวหน้า และประสบผลสำเร็จ โดย สุเมธ แสงนิ่มนวล

สรุป หลักการหรือประเด็นสำคัญ 9 ข้อ ในการสร้างความสำเร็จให้ตนเอง ได้แก่
๑. สำรวจข้อบกพร่องของตนเองอยู่เสมอ และพยายามแก้ไข
๒.มองโลก มองคน ในแง่ดี
๓. หาความรู้อยู่เสมอ
๔. ทำงานที่เรารัก ชอบ หรือถนัด
๕. เป็นตัวของตัวเอง
๖. หาโอกาสจากวิกฤติหรืออุปสรรค
๗. ยิ้มแย้ม แจ่มใส อยู่เสมอ
๘. ให้เวลาว่าง ให้มีคุณค่าหรือประโยชน์
๙. เป็นนักฟัง และ นักพูดที่ดี

ง่ายๆ 9 ข้อ...
แม้จะยังทำไม่ได้ครบ... แต่การพยายามที่จะทำสิ่งเหล่านี้ ก็ถือว่าเป็น "จุดเริ่มต้น" ที่ดีแล้วครับ

"ความเป็นคน มิได้นับ เพราะทรัพย์มาก
หรือนับจาก ตำแหน่งยศ และศักดิ์ศรี
หรือนับจาก ปริญญา เอกโทตรี
แต่อยู่ที่ ผลงาน การกระทำ" 

...
อ๋อ ครับผม

Surround yourself with the best - Dianne Thompson : Chief Exec. of Camelot group

http://boomeryearbook.com/blog/wp-content/uploads/2009/03/byb-optical-illusions-circles-clip_image001.jpg

ผู้นำที่แท้จริง...
จะไม่กลัวที่จะมี "ลูกน้องที่เก่งกว่า" มีความสามารถมากกว่า

ดีซะอีก...ที่มีลูกน้องเก่งๆ
ผู้นำจะต้องนำลูกน้องเก่งๆมาร่วมกันทำงาน
สร้างเป็นทีมงานที่ยิ่งใหญ่

หากเป็นเช่นนี้แล้ว...
งานขององค์กรก็จะทำสำเร็จได้อย่างง่ายดาย
ง่ายขึ้น

คนยิ่งมีคุณภาพสูง...
งานก็จะมีประสิทธิภาพสูงตามไปด้วย

ประเด็นที่สำคัญสำกรับเรื่องนี้คือ...
"การมอบหมายงาน" หรือ Delegation

โดยสรุปแล้ว...
"อย่ากลัว" ที่จะรับ "คนเก่งกว่า" เข้ามาทำงาน
จงรับเข้ามา...พัฒนาพวกเขา...มอบหมายงานที่เหมาะสม...
ให้อำนาจในการทำงาน...
แล้วองค์กรจะ "สำเร็จอย่างงดงาม"

Dianne Thompson : Chief Exec. of Camelot group
...
อ๋อ ครับผม

วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

'Change is good' - David Brandon - Chairman & CEO of Domino's Pizza


"โค้ช ต้องเตรียมทีม เพื่อที่จะชนะ เสมอ"

การเปลี่ยนแปลง (Change) นั้น
เรามักไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่ามันจะเกิดตอนไหน
บางครั้ง...มันเกิดรวดเร็วเกินกว่าที่เราจะคาดคิด

เหมือนการเล่นกีฬา
พอจะได้พักเหนื่อยบ้าง
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดทันทีตรงนั้น...ทำให้เราต้องลุกขึ้นไปแข่งต่อ
มันก็เป็นอย่างนี้

ในบทบาท "ผู้นำ" ก็เช่นเดียวกัน
ผู้นำต้อง "เตรียม" องค์กรให้พร้อมอยู่เสมอ
โดยการเริ่ม "เปลี่ยมมุมมองหรือวิธีคิด" ของทีมงาน
ให้พร้อมที่จะรับ "การเปลี่ยนแปลง"
พร้อมที่จะมองว่า "การเปลี่ยนแปลงคือสิ่งดี" Change is good!

...
อ๋อ ครับผม

วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Be Clear What the Aim is..by Sir Gerry Robinson


ผู้นำ...
ต้องทำเป้าหมาย "ให้ชัดเจน" เสียก่อน

สิ่งหนึ่งที่หลายๆองค์กรพลาด คือ...
ความไม่ชัดเจนของทิศทางหรือเป้าหมายขององค์กร
ว่าจะไปทางไหน? จะทำอะไรกันแน่?
อะไรคือตัวสำเร็จขององค์กร(ที่อยากจะได้)?
อะไรคือเรื่องสำคัญที่สุดที่จะทำใน 3 ปี / 5 ปี ?

แน่นอนว่า...
ผู้นำคงไม่สามารถรู้ไปเสียทุกสิ่ง
สิ่งที่ง่ายกว่านั้น ในการสร้างความชัดเจนของเป้าหมาย/ทิศทาง
คือ...
ให้ "ทีมงาน" เป็นคนสร้างมันขึ้นมา
นอกจากจะได้เป้าหมายที่ดีและมีความเป็นไปได้สูงแล้ว
องค์กรจะได้เป้าหมายที่มี "ความเป็นเจ้าของ"
จากทีมงานที่ช่วยกันทำเป้าหมาย หรือ "วิสัยทัศน์" นั้นๆ

from - 'Be Clear What the Aim is'..
by Sir Gerry Robinson
...

อ๋อ ครับผม